การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี

Main Article Content

สมชาย พาชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

ชนาธิป พรกุล. (2559). แคทส์ : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดชดนัย จุ้ยชุมและคณะ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning).วารสารนราธิวาสราชนครินทร์.สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่3 ฉบับ2 (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2559) หน้า 47-57

ทวีวัฒน์ วัฒนกลุ เจริญ.(2558). การเรียนเชิงรุก.สืบค้นจาก http://www4.eduzones.com.

ปิยะพล ทรงอาจ. (2562).การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้เทคนิค STAD รายวิชา 810107 จิตวิทยาสำหรับครู ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิต.เอเชียปีที่ 9 ฉบับพิเศษ (เดือนพฤศจิกายน 2562) หน้า 161-172

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.(2561). ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.

ล้วน สายยศและอังศนา สายยศ. (2544). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4.

กรุงเทพฯ :สุรีวิทยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช.(2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สรวงพร กุศลส่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิดสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุษณีย์ เทพวรชัย. (2557, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. 8(1),121-136. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,