ความสัมพันธ์วิปัสสนากรรมฐานกับหลักไตรสิกขา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์วิปัสสนากรรมฐานกับหลักไตรสิกขานั้นผู้ปฏิบัติจึงเป็นผู้ที่ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา โดยมีศีลตามฐานะของตนๆและอบรมจิตของตนให้มั่นคงตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออำนาจกิเลสต่างๆ ที่จรเข้ามาและเจริญสติปัฏฐาน 4 จนเกิดความเข้าใจถึงขั้นเกิด ภวนามยปัญญาอย่างถูกต้องเห็นตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) ในเรื่องของรูปนาม เห็นความเกิดดับของรูปนาม(ทิฏฐิวิสุทธิ) เข้าใจหลักไตรลักษณ์ไปทีละขั้น จนในที่สุดก็เริ่มเห็นว่ารูปนามสิ่งเหล่านี้เป็นของน่ากลัว จิตจึงมีความเบื่อหน่ายและมีความเพียรมากขึ้นที่จะต้องการหลุดพ้นจากรูปนามนี้ เมื่อมีความเพียรอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่การวางอุเบกขาต่อรูปนามนี้ และในที่สุดก็สามารถข้ามโคตรแห่งปุถุชน เข้าอริยมรรคอริยผล คลายความยึดมั่นว่าเป็นตัวตนของตนได้อย่างแท้จริง(สักกายทิฏฐิ) การปฏิบัติที่ผิดทางก็จะไม่มีอีก(สีลพตปรามาส) ความลังเลสงสัยต่างๆในพระรัตนตรัยหรือการปฏิบัติก็หมดสิ้นไป(วิจิกิจฉา) ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเหตุให้ไตรสิกขาบริบูรณ์ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 เพราะผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 จะต้องปฏิบัติตามหลักของมัชฌิมาปฏิปทา ต้องเป็นผู้มีศีล ต้องเป็นผู้มีความเพียร ต้องเป็นผู้มีสติ ต้องเป็นผู้มีสมาธิและมีปัญญาในที่สุด จนถึงความหลุดพ้นคือ วิมุตติ
Article Details
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2552). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี. (2518). ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ภัททันตะอาสภมหาเถระ. (2541). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน. วิเวกอาศรมชลบุรี,
สมเด็จพระญาณสังวร. (2554). (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก). สัมมาทิฏฐิ,
เชียงใหม่: นันทพันธ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทย,ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.