คติความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมบูชาศาลปู่ตาของชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ ผู้ศึกษาได้เสนอแนวคิดเรื่องคติความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชาปู่ตาของชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ จะเห็นได้ว่า ชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ มีคติความเชื่อในการดำเนินชีวิตที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ (1) มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ (2) มีความเชื่อที่สืบทอดมาจนกลายเป็นประเพณี (3) มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษ และ (4) มีความเชื่อในเทพเจ้า การบูชากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เข้าใจว่ามีอำนาจบางอย่างคอยคุ้มครองอยู่ ความเชื่อจึงเกิดจากสภาวะที่บุคคลให้ความมั่นใจและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอำนาจลึกลับที่มีผลทำให้มนุษย์ได้รับผลกระทบปัจจุบันจึงมีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อบูชาเซ่นสรวงวิญญาณ โดยผ่านเฒ่าจ้ำ เป็นผู้ทำหน้าที่สื่อสารกับผีปู่ตา การกระทำเหล่านี้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคม กล่าวคือ ศาลปู่ตาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ชาวบ้านให้ความเคารพ ผลของความเชื่อนั้นอาจไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจน แต่การดำรงวิถีชีวิตที่อาศัยศาลปู่ตาอาจมีคุณค่าทางจิตใจ คือ ทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ไม่เศร้าหมองและปัจจัยที่เกิดทางกายภาพ คือ มีความสามัคคี มีประเพณีอันดีงามของชุมชน
Article Details
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2540). คติชาวบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษร
วัฒนา.
ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2523). คติชาวบ้าน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒบางแสน.
ธวัช ปุณโณทก. (2528). “วัฒนธรรมพื้นบ้านคติธรรมความเชื่อ”, ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติ
ธรรมความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง). (2541). “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่ง
กรรมของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อดุม บัวศรี. (2546). วัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนาฬิกาวิทยา.
สัมภาษณ์ นายมะลัด สุภารัตน์. ผู้ใหญ่บ้านจันลม. 19 กรกฎาคม 2562.
สัมภาษณ์ พ่อทอน เกษศิลา. ปราชญ์ชาวบ้าน. 13 กรกฎาคม 2562.
สัมภาษณ์ ยายแงด พันธ์จันทร์. ร่างทรงปู่ตาบ้านจันลม. 1 สิงหาคม 2562,
สัมภาษณ์ นางผ่องศรี ใยเม้า. ปราชญ์ชาวบ้าน. 10 สิงหาคม 2562.