The City of Arts: การสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระใบฏีกาสุพจน์ ตปสีโล
พูลศักดิ์ หอมสมบัติ
ร.ท.กวีพล ศรีหะมงคล

บทคัดย่อ

พื้นที่เป้าหมายมีทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาจากการสะสมความรู้และได้รับการถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันบ้างตามบริบทของพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกันเพราะเกิดจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาเป็นเบ้าหลอมเดียวกัน


           สภาพปัญหาสำคัญของการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนคือ การติดกับดักวิธีคิด เนื่องจากผู้ประกอบการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนยังขาดองค์ความรู้ ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด อีกทั้งยังไม่ทราบวิธีการนำทุนของชุมชน มาบูรณาการกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในชุมชนของตนเอง ฉะนั้นการที่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ชุมชนจะสามารถหลุดพ้นจากกับดักวิธีคิดแบบเดิมๆจนสามารถยกระดับจากสถานะ“องค์กรผู้สร้าง”สู่การเป็น“องค์กรผู้สร้างสรรค์”สินค้าและบริการที่มีจุดเด่นได้นั้น จึงต้องมีจุดเริ่มต้นที่การพัฒนา“คน”ทั้งที่เป็น ผู้ประกอบการและบุคลากรในชุมชน ผลิตสินค้าผ่านผลงานสร้างสรรค์ของศิลปิน เน้นสื่อความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อนประยุกต์ใช้ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ เผยแพร่ผลงานวิจัย วีดิทัศน์ วารสารการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เพื่อให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะและแรงจูงใจ ตามฐานแนวคิดพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์เมื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ก่อให้เกิดรายได้ต่อคนในชุมชนบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย การสร้างสรรค์การท่องเที่ยวจะวางอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมชุมชนโดยสามารถหยิบยกเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ศิลปะท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน วิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชน วรรณกรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม การทำอาหารท้องถิ่นการทำขนมโบราณ และอื่น ๆ มาจัดให้เกิดความน่าสนใจ สอดคล้องตามคุณค่าของชุมชนจากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ผู้วิจัยคาดหวังว่าจะมี ผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมด้วยการพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางบ้านศิลปินล้านนาให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน สังคม และของประเทศชาติ อย่างยั่งยืนและภาคภูมิ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พูลศักดิ์ หอมสมบัติ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

ร.ท.กวีพล ศรีหะมงคล, กองอนุศาสนาจารย์ มทบ.นราธิวาส

กองอนุศาสนาจารย์ มทบ.นราธิวาส

References

ชุติมา บริสุทธิ์. (2557), การศึกษาการสร้างเมือง (machizukuri) ด้วยศิลปะร่วมสมัย ภายในเมือง Kanazawa จังหวัด Ishawa. บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรรณี วิรุณานนท์. (2551), การพัฒนาแนวทางการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในพื้นที่สาธารณะของประเทศไทย. โครงการค้นคว้าวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวความคิดการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในพื้นที่สาธารณะของประเทศไทย ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักศิลปะร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.
ปิยพร อรุณเกรียงไกร, Creative Knowledge. http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial /13632/#NAOSHIMA-Where-Art-Space-Lands-on-Seascape[เข้าถึงข้อมูลวันที่ 14 มกราคม 2562].
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2556),“การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมชุมชนเมืองที่น่าอยู่อาศัย: ปัญหาที่มองไม่เห็นและแนวทางแก้ไข”.วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2.2556.