จริยศาสตร์การพัฒนา: ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใส ในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์
นฤมล ดวงแสง

บทคัดย่อ

จริยศาสตร์การพัฒนา:ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (=3.75) ด้านความโปร่งใสอยู่ในระดับมาก (=3.99) ด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก (=3.72) ด้านต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับมาก (=3.70) ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมอยู่ในระดับมาก (= 3.53) และด้านคุณธรรมในการทำงานอยู่ในระดับมาก (= 3.85)


           จากการสัมภาษณ์พบว่า จริยศาสตร์การพัฒนา:ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี คือ


  1. 1. กระบวนการสร้างความโปร่งใสขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกลไกทางจริยศาสตร์ ใน 5 ด้าน คือ ด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิด ด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และด้านวัฒนธรรมในการทำงาน มีกระบวนการที่ชัดเจนในด้านทฤษฎี ส่วนการการดำเนินการตามกระบวนการยังไม่ต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีกรอบในการปฏิรูประบบราชการให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มแข็งทำงานด้วยความเที่ยงตรง

  2. การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความโปร่งใสขององค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีการนำหลักพุทธธรรมสำหรับการครองตน หลักพุทธธรรมสำหรับการครองคน หลักพุทธธรรมสำหรับการครองงาน บุคคลที่จะเข้าไปทำงานในตำแหน่งสูงต้องผ่านการคัดกรองด้านคุณธรรม โดยการอบรมด้านจริยธรรมก่อนเข้ารับตำแหน่ง การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่เน้นเรื่องความโปร่งใสในการทำงานมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ผู้ใหญ่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ชี้แนะเด็กและเยาวชนให้เห็นผลเสียของการทุจริตคอรัปชั่น คุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักสำคัญของนักบริหาร ที่จะทำให้การบริหารประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นหลักที่จะสามารถนำเอาหลักธรรมที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการบริหารได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

นฤมล ดวงแสง, วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี, ประเทศไทย

Ubon Ratchathani Vocational College, Thailand

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539),พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557), โครงการพัฒนา
ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัย สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุภาพ วาดเขียน, (2523), วิธีวิจัยและสถิติทางการวิจัยในศึกษาศาสตร์, กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.
นายศุภโชค รัตโน. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง ตำบลเหล่าแดง อำเภอ
ดอนมดแดงจังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 20 ตุลาคม 2560)
จ่าเอกเผด็จ คะตะวงษ์.นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง
อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 20 ตุลาคม 2560)
นายทองใส แสงอุทัย.รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง ตำบลเหล่าแดง
อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 20 ตุลาคม 2560)
นางกิติกุล แสนทวีสุข.ผู้อำนวยการกองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง ตำบลเหล่า
แดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 21 ตุลาคม 2560)
นายทรงศักดิ์ แก้วดา.ปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง ตำบลเหล่าแดง อำเภอ
ดอนมดแดงจังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 21 ตุลาคม 2560)
นางสาวนิภาพร สายแก้ว. ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์กรบริหาร
ส่วนตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2560)
นางบุญมี เดชะคำภู. ประธานสภาองค์กรบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง
จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2560)
นางมณีวรรณ แก่นแก้ว. เลขานุการนายกองค์กรบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง ตำบลเหล่าแดง
อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี, (สัมภาษณ์, 23 ตุลาคม 2560)