การสร้างรูปแบบ มาตรการและวิธีการดับทุกข์ของผู้พิการในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการดับทุกข์ของผู้พิการในสังคมไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย 3) สร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 188 คน และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 28 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทยโดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ผู้พิการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผู้พิการที่มีเพศ อายุและรายได้ แตกต่างกัน มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนที่เหลือ คือ ผู้พิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน
3.การสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย 1) ส่งเสริมผู้พิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการและสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็น สาธารณะอย่างเท่าเทียม 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือกับองค์กรด้านผู้พิการและเครือข่าย 3) บูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายด้านผู้พิการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 4) พัฒนาศักยภาพและสร้างเจตคติที่สร้างสรรค์ต่อผู้พิการและความพิการ 5) สนับสนุนและส่งเสริมองค์กรพระพุทธศาสนาให้มีบทบาทในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณแก่ผู้พิการ
Article Details
References
:กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวง.
กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560). รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. .กรุงเทพมหานคร :สำนักงานเลขาธิการ
วุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.
มยุรี ผิวสุวรรณและคณะ.(2556).CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย
Community Based Rehabilitation.กรุงเทพฯ : พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.
ยศพล เหลืองโสมนภา และคณะ.(2554). รายงานการวิจัย เรื่องคุณภาพชีวิต ปัญหาและ
ความต้องการของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง
จังหวัดจันทบุรี.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.
ปีที่ 28 ฉบับที่ 2.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล. https:// www.thaigov.go.th/news [เข้าถึงข้อมูลวันที่
2 ธันวาคม 2560].
วรรณี ศรีวิลัยและคณะ.(2554),รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยความสำเร็จในการดูแลคนพิการ
ทางกายและการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตกรณีศึกษาตำบลคูบัว ตำบล
ดอนตะโก ตำบลดอนแร่ และตำบลอ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี. ราชบุรี: วิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.