การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา

Main Article Content

ชิษณุพงศ์ เงินแจ่ม
สุนันท์ สีพาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหาก่อนและหลัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม จำนวน 12 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา หน่วยการเรียนรู้โจทย์ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.05 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุนันท์ สีพาย, ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ชัยภูมิ

ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ชัยภูมิ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2552.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์และการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โกวิทย์ เวชศาสตร์และคณะ. (2541). การเรียนแบบร่วมมือ:เอกสารอบรมครูวิทยาศาสตร์

ของ Seamco-Rccsam. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

พรพิมล ใจโต. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเต็มของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TAI. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560). หลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์และการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.