การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษานโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นในล้านนา 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยในแบบผสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) และการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) การวิจัยเชิงปริมาณใช้การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ได้ฝึกปฏิบัติตามหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในวัดดังกล่าว เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 300 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจำนวน 100 คน รวมจำนวน 400 คน โดยกำหนดจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแต่ละวัด/องค์กรในพื้นที่ 5 จังหวัดประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดพะเยา ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นในล้านนาพบว่า ภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวของประเทศโดยได้กำหนดกรอบการทำงาน อยู่ 3 เรื่องที่สำคัญของประเทศ คือ เป็นไปตามกลไกของนโยบายการพัฒนาสามพลังของประชารัฐซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นภาคเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ความร่วมมือและชุมชนเข้มแข็ง 2) การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่า การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนาเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้/วิถีชีวิตชุมชนดีขึ้น และเป็นการตอบสนองความต้องการชุมชนในการฟื้นฟูความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) เสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่าแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้น แบ่งเป็นเครือข่ายภายในชุมชน โดยใช้แนวทางของคำว่า “บวร”หมายถึง ความร่วมมือ ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน 4) ความสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา พบว่า มีความสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวในรูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่ายการท่องเที่ยวในการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งวัด ชุมชน ผู้ประกอบการ ภาครัฐและเอกชน ให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชน
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558), แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-
กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2547), ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547.
ชื่น ศรีสวัสดิ์และคณะ. (2550), การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมชุมชน
ชาวกวยในเขตอีสานใต้และลาวใต้. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจัย สกว., 2550.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548), อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์,
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, (2552), รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดใน
กรุงเทพมหานคร”รายงานการวิจัย :สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท่องเที่ยวไทยและ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.),