ผลพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสตาร์ท (START)

Main Article Content

ธารีฉัตร ศรีซุย
รัชกร ประสีระเตสัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ My School ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ My School ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 17คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1.แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสตาร์ท (START) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ My School เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3.แบบทดสอบวัดการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบด้วย t-test dependent ผลวิจัย พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสตาร์ท (START) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


         

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รัชกร ประสีระเตสัง , สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

นันทิยา แสงสิน. (2540). กลวิธีการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษในระดับ

มัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิตยภัทร์ ธาราสุข. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้

กลวิธีีสตาร์ท (START)และแผนภูมิความหมายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรทิพย์ ชาตะรัตน์. (2545). การอ่าน: เครื่องมือแสวงหาความรู้, วารสารวิชาการ,

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน

สุธิดา ศรีพงศ์. (2542). การใช้กิจกรรมชี้นำการอ่าน การคิดเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่าน

ภาษาอังกฤษและความสามารถในการตรวจสอบความเข้าใจระหว่างอ่านของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

สุรีย์ภรณ์ บุญญมงคล. (2552). การใช้กลวิธิีสตาร์ทเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านและ

ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Scharlach, T.D. (2008). START Comprehending: Students and Teacher Actively

Reading Text. Reading Teacher Journal. Accessed October 21. Available from