การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

Main Article Content

ชัชฎาภรณ์ ไชยสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  3) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย  และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 40 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 ทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.50, S.D. = 0.92) และการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.47, S.D. = 0.84) เช่นกัน


2) การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยด้านการตระหนักรู้คุณค่า ปัจจัยด้านการรับรู้  ปัจจัยด้านทัศนคติ และปัจจัยด้านทักษะการเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้


3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่  1.ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพด้วยกิจกรรมการผ่อนคลาย  การพักผ่อน  การออกกำลังกาย  การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และการตรวจสุขภาพประจำปี  2. ด้านการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การเข้าไปเป็นสมาชิกกลุ่ม ชมรม การเป็นจิตอาสา  และ 3.  ด้านความมั่นคง ประกอบด้วย ความมั่นคงในชีวิตด้านเศรษฐกิจ  ด้านครอบครัว และด้านและทรัพย์สิน


 

Article Details

บท
Research Articles

References

เกสร อึ้งสวรรค์. (2559). การพัฒนาตัวแบบเชิงนโยบายแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เสริมสร้างสมรรถนะ การทำงานของผู้สูงอายุที่กลับสู่กำลังแรงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (4).
561-576.
จิราพร มะโนวัง และคณะ. (2559). ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9 (2), 176-190.
จิตติมา บุญเกิด. (2558). การสร้างความตระหนักรู้และทัศนคติเชิงบวกแก่ผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อป้องกันการหกล้ม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 9 (1), 13-25.
ฐิติวรรณ ศรีเจริญ และ วุฒิพงศ์ อาจริยอาจอง. (2553). การศึกษาปัญหาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุกรณีศึกษา อุปสงค์ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น. Naresuan University Journal, 17(3), 280-286.
ธนกร สิริสุคันธา และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในพื้นที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7 (2), 47-63.
ธีระศักดิ์ อรัญพิทักษ์. (2552). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชายแดนไทย-ลาว : กรณีศึกษาเชียงของ-ห้วยทราย. มนุษยศาสตร์สาร, 10 (2), 58-69.
เบญจมาศ ยศเสนา. (2560). การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 9 (1) 1-14
พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ และ ดาว เวียงคำ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรค ของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 5 (1), 7 -16.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และ รติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสาร สมาคมนักวิจัย. 21(2), 94-109.
ไพรวรรณ พลวัน. (2561). แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมกิจการผู้สูงอายุ.
เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563 จาก http://tpso4.m-society.go.th/images/DatabaseTPSO4 /News_TPSO/Advertise/2562/3.-Elderly-peo-06122561.pdf
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์และคณะ. (2557). การพัฒนาการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์สถานการณ์ แผนงานวิจัย การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข. มหาวิทยาลัยบูรพา: จังหวัดชลบุรี
มัชฌิมา ศิริอิ่มสำราญ. (2557 ). ทัศนคติต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุและผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสรรค์ สิงหเลิศ (2558) ระเบียบวิธีวิจัย และการใช้สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ:
ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.



ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2562) ข้อมูลประชากร. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562 จาก :http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/.
ระพีพรรณ คําหอม และคณะ. (2542). การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “บทบาทรัฐและองค์กรชุมชนกับผู้สูงอายุไทย : สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต. 23-24 ธันวาคม 2542.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและข้อมูลสถิติที่สำคัญ
เกี่ยวกับผู้สูงอายุ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และวิทยาลัยประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
วิไลวรรณ วัฒนานนท์. (2543). ปัญหาและความต้องการของผู้สุงอายุชุมชนบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2543). การตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณีตัวอย่าง
การจัดตั้งศูนย์บริการทางสังคมของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สุขภาพคนไทย 2548. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, กรุงเทพมหานคร: อิงค์ออน เปเปอร์ จํากัด.
สุพรรษา แสงจันทร์ และคณะ. (2559) การรับรู้ความหมายความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (Nursing Journal of the Ministry of Public Health), 26 (2), 76-88.
สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุภาพ หงส์ษา. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุต่องานด้านสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. (2559). แผนพัฒนากลุ่ม
จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561 – 2564). สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563 จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017041009195558.pdf
สำนักสงเสริมและพิทักษผูสูงอายุ (2555) ทำเนียบองคกร ชมรมดานผูสูงอายุ พ.ศ. 2555. สำนักงานสงเสริมสวัสดิภาพและพิทักษเด็ก เยาวชน ผูดอยโอกาส และผูสูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย
อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2554). การศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย.
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์รวมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ
ไทย (มส.ผส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.): กรุงเทพฯ.
McCleland, D.C. (1985). How Motive, Skills, and Values Determine What People Do. American Psychologist, 40 (7): 812-825.
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.
WHO. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva, Switzerland: World Health
Organization.