การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน

Main Article Content

ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล
พระสมุห์อุทัย อุทยเมธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาการปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน  และ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ  เชิงคุณภาพ  และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ในภาพรวมจากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ด้านที่มีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 2) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน คณะผู้วิจัยดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในชุมชน  ซึ่งมีรายขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ออกแบบกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนใน  การอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน     2. ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน  ผู้นำศาสนาคริสต์ ผู้นำศาสนาพุทธ และประชาชนในพื้นที่ 3) คณะวิจัยดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับ  การอนุรักษ์และจัดการป่าชุมชน  และ 4. ผู้เข้าร่วมกระบวนการความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็น 3. การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมคิด ร่วมร่างธรรมนูญศีลธรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และจัดการป่าชุมชน  ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาร่วมกันของประชาชนในชุมชน มีเนื้อหาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการป่า  ในชุมชน ทั้งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์ และการประเมินผลร่วมกัน และ 4) การประเมิน (ร่าง) ธรรมนูญศีลธรรมชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน ของชุมชน ดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการประจำหมู่บ้านเห็นชอบให้มีการบังคับใช้ธรรมนูญศีลธรรมฉบับดังกล่าว


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พระสมุห์อุทัย อุทยเมธี , วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nan Buddhist, Thailand.

References

ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). การมีสวนรวมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษากรณี : ลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ,. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล. (2560). การมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิพิธจารุธรรมและคณะ. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ป่าด้วยคําสอนพุทธศาสนาเถรวาท. รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี .(2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Cohen, J.M. and Uphoff. (1984). The Cornell Rural Development Participation Project. Rural Development Review.