ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

Main Article Content

ชญาภา บุตรดี

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เกี่ยวกับบทลงโทษสู่การคุมประพฤติ การพักการลงโทษและการกำหนดโทษการสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ การศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มีการกำหนดบทลงโทษที่สูง เพื่อต้องการให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัว แต่ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาให้รอการการลงโทษ การกำหนดบทลงโทษหากเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนด แต่ไม่มีเงื่อนไขให้ไปทำการปลูกป่า ฟื้นฟูป่าและคุ้มครองดูแลรักษาแต่อย่างใดและมิได้มีการกำหนดโทษฐานการสมคบกันกระทำความผิดจึงทำให้การคุ้มครองดูแลรักษาป่าไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผลการศึกษา จึงมีข้อเสนอแนะให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ได้รับโทษจำคุกอย่างเหมาะสมควร คุมประพฤติทุกคดี โดยให้ทำการฟื้นฟูและคุ้มครองดูแลรักษาป่าทั้งให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการพักการลงโทษควรมีเงื่อนไขอย่างเช่นเดียวกัน ทั้งการกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ร่วมสมคบกันกระทำความผิด

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2562), รายงานสรุปสถิติคดีเกี่ยวกับการป่าไม้. จาก http://portal.dnp.go.th/Content?contentId=2134 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ 20 ธันวาคม 2562].

______. รายงานสรุปสถิติคดีเกี่ยวกับการป่าไม้-กรมอุทยานแห่งชาติ สถิติการดำเนินคดีของกรมป่าไม้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 -2562. http://www.dnp.go.th/Lawsuit/Dnplawsuit.asp

กรมราชทัณฑ์.(2563) รายงานสถิติ-ราชทัณฑ์.จากhttp://www.correct.go.th/stathomepage [เข้าถึงข้อมูลวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563].

สุเนติเนติ คงเทพและนันทชัย รักษ์จินดา. (2559). อธิบายหลักกฎหมายอุทยานแห่งชาติ และหลักกฎหมายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านอุทยานและป่าไม้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตอักษร.

อุดมศักดิ์ สิทธิพงษ์. (2554). กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา การระงับข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.