การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในชุมชนประตูท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ตามหลักการของแต่ละศาสนา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบและวิธีการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม พบว่า หลักการอยู่ร่วมกันของคน ด้วยการสร้างให้ประชาชนในชุมชนประตูท่าแพ เข้าใจและยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของแนวคิดวัฒนธรรมประเพณี และความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อความสอดคล้องของหลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมส่งเสริมให้มีการพัฒนาเปิดกว้างแต่ละชุมชนสู่สังคมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ทุกคนในสังคมหันมาเข้าใจความแตกต่างและสนใจเรียนรู้ความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่ ส่งเสริมการยอมรับในเรื่องความแตกต่างในเรื่องความคิดตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกัน อันจะเป็นผลให้การอยู่ร่วมกันในชุมชนที่มีความหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
สุพัตรา สุภาพ, (2553), สังคมวิทยา, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2553.
สุไรยา วานิ. (2557), การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาตำบล
ทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี, วารสารการเมืองการปกครอง, ปีที่ 4
ฉบับที่ 1 กันยายน 2556- กุมภาพันธ์ 2557.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, (2550), การดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลต่างวัฒนธรรม:
มุมมองของพุทธและมุสลิม, (เอกสารวิจัยส่วนบุคคลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
สงขลา.
สัมภาษณ์พระครูปลัดปรีดา ใจบุญ, วัดดอกเอื้อง ตำบลศรีภูมิ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 23 กรกฎาคม, 2560.
สัมภาษณ์พ.ต.ท.สุวิทย์ ปัญโญ, รองผู้กำกับการสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ,วันที่ 23 กรกฎาคม, 2560
สัมภาษณ์ ศจ.ไมตรี อนันตนิติเวทย์, ศิษยาภิบาลคริสตจักรสามัคคีธรรมเชียงใหม่,
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 23 กรกฎาคม, 2560