บทบาทของสหพันธ์แม่หญิงลาวด้านการพัฒนาการศึกษาในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว

Main Article Content

ดาลี้ เที่ยงทำมะวง
รัตนะ ปัญญาภา
เรืองเดช เขจรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงบูรนาการ (Mix Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงลาวในการพัฒนาการศึกษา และแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงต่อการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ  แขวงจำปาสัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สมาชิกสมาชิกสหพันธ์แม่หญิงลาวที่เป็นครู ในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนาลาว จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. บทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ  แขวงจำปาสัก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ตามบทบาทที่เป็นจริงและตามบทบาทที่คาดหวังมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เช่น บทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซตามบทบาทที่เป็นจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ ตามบทบาทที่คาดหวัง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  2. แนวทางการพัฒนาพัฒนาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงด้านการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว  สหพันธ์แม่หญิงได้เสนอแนวความคิดไว้เป็นส่วนมากคือ ควรเปิดโอกาสให้แม่หญิงได้มีโอกาสพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการให้มากขึ้นเช่น เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถในการบริหารจัดการด้านวิชาการ ส่งเสริมให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพื่อยกระดับทั้งภายในและต่างประเทศ ต้องเอาใจใส่ติดตามส่งเสริมด้านวิชาการให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ดำรงตำแหน่งในขั้นการบริหารด้านต่างๆให้ถูกต้องเหมาะสมกับความสามารถ และทุกการงานที่จัดขึ้นควรคำนึงถึงบทบาทหญิงชายอยู่เสมอ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

รัตนะ ปัญญาภา , มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

เรืองเดช เขจรศาสตร์ , สำนักงานศึกษาธิการ ๙

สำนักงานศึกษาธิการ ๙

References

กฎละเบียบของสหพันธ์แม่หญิงลาว. (2015). ข้อกำหนดกฎหมายว่าด้วย สิทธิ์ของสหพันธ์แม่หญิงลาว รับรองในกองประชุมใหญ่ผู้แทนแม่ยิงลาวทั่วประเทศครั้งที่ 8, นครหลวงเวียงจันทน์: รัฐวิสาหกิจโรงพิมพ์ศึกษา.
กอบกุล อิงคุทานนท์. (2537). ผู้หญิงกับอำนาจที่จะแปรเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2550). บทบาทของผู้หญิงชนบทในโลกที่สาม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
นพรัตน์ กอวัฒนากุล และคณะ. (2559). กลยุทธ์ในการส่งเสริมบทบาทสตรีมุสลิมต่อการพัฒนาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: ไอคิว มีเดีย.
อ่อนจัน สุวันนะแสง. (2015). การจัดตั้งองค์กรสมาพันธ์สตรี. นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.