การดำเนินการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการดำเนินการการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ ตามขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาอาเซียนศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2561 จำนวน จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการดำเนินการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ =3.79) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ (µ =3.88) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (µ =3.78) และด้านการสื่อสาร (µ =3.70) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการดำเนินการการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน พบว่า โรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีระดับการดำเนินการการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน 3) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ สภาพปัญหา ได้แก่ (1) กิจกรรมการเรียนรู้พลเมืองอาเซียนยังบูรณาการไม่ครบกับทุกกลุมสาระการเรียนรู (2) ครูบางท่านยังขาดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) ครูบางท่านยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองอาเซียน ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการกับทุกกลุมสาระการเรียนรูให้เข้ากับการเป็นพลเมืองอาเซียน (2) ครูควรพัฒนาตนเองด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) ครูควรได้รับการพัฒนาให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองอาเซียน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ“เสริมสร้างความเข้าใจ ใฝ่รู้ภาษา มุ่งพัฒนาสัมพันธ์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี สานสามัคคีอาเซียน”(พ.ศ.2558-พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ภาณุวัฒน์ บุญพระธรรมและนิลมณี พิทักษ์. (2558).การศึกษาการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 38 ฉบับที่ 3.
สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน,สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2561, http://social.obec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอาเซียนศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ. (2561). แผนปฏิบัติการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 สพม.ชัยภูมิ เขต 30. กลุ่มนโยบายและแผน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ.