การเล่านิทานชาดกเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการพูดสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เพ็ญพักตร์ สายจันทร์
นนทชนนปภพ ปาลินทร
อภิรดี ไชยกาล
ชลิลลา บุษบงก์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเล่านิทานชาดกเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการพูดสื่อความหมาย และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้นิทานชาดก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาต่อในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่โรงเรียนอนุบาลยางชุมน้อย (หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์) อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการศึกษา คือ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 ระยะเวลา 4 สัปดาห์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-10.50 น. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบวัดความสามารถในการพูดสื่อความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า  1) ความสามารถในการพูดสื่อความหมายที่ได้รับการจัดประสบการณ์ โดยใช้การเล่านิทานชาดก โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับสูง 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หลังการจัดกิจกรรมมีความสามารถในการการพูดสื่อความหมายสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญ .01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นนทชนนปภพ ปาลินทร, คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

อภิรดี ไชยกาล, คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

ชลิลลา บุษบงก์, คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2548), การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบฮาร์ทส ที่มีต่อ

ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จีรวรรณ นนทะชัย, (2555). ความสามารถทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

ประสบการณ์เล่านิทานประกอบการวาดภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิตาพร เอี่ยมสะอาด (2548). เด็กปฐมวัยกับทักษะทางภาษา, สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ลัดดาวรรณ บุญมาวรรณ. (2560). การจัดประสบการณ์โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่า

เรื่องซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการจับใจความและการพูดสื่อสารของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1): 1-12.

สาวิตรี รุญเจริญ. (2549). นิทานทำให้เด็กฉลาด. วารสารศูนย์บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 29-32.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต.(2537). การปรับพฤติกรรม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Heeeior. (1970). Language and Reading. MA : Addison-Wesley : 115-119.