การพัฒนาเมือง และชนบทอย่างสร้างสรรค์ของจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พระวิชาญ อาทโร/มวลทอง
พระครูปริยัติปัญญาโสภณ
พระสุเทิด ทีปงฺกโร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องสมาร์ทซิตี้ : การพัฒนาเมือง และชนบทอย่างสร้างสรรค์ของจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยเชิงการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อประมวลองค์ความรู้ ศึกษาแนวคิด หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ โดยศึกษาจากคัมภีร์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งงานวิจัยที่มีผู้รู้ได้ศึกษาไว้ รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คือการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกระบวนการการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างสร้างสรรค์ของจังหวัดบุรีรัมย์จะเห็นได้ว่าเป็นเมืองกีฬาและเมืองวัฒนธรรมขอมโบราณโดยสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีบทบาททางการเมืองคือสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้สร้างความนิยมแก่ชาวบุรีรัมย์แต่ยังต้องพึ่งพาทุนจากนักการเมือง แต่ความสำเร็จจากสนามแข่งรถ และฟุตบอลทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นที่มาของบุรีรัมย์โมเดล 2) พัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองและชนบทอย่างสร้างสรรค์ของจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์พัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองและชนบทอย่างสร้างสรรค์โดยใช้อัตลักษณ์”อันเป็น“รากเหง้า”ทางวัฒนธรรมและความเป็นท้องถิ่นนิยมทำให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาเมืองและชนบทของจังหวัดบุรีรัมย์อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนนอกจากเรื่องการนำกีฬามาพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์แล้วบุรีรัมย์ยังสามารถใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ความเป็นบุรีรัมย์ตั้งแต่การแต่งกาย, ภาษา, อาหาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น,สถาปัตยกรรม,การละเล่น ศิลปะ ดนตรี, ความเชื่อ ค่านิยม และประเพณี ซึ่งถือเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมามาใช้ประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว จนทำให้บุรีรัมย์ตอนนี้จากที่เป็น“เมืองผ่าน”กลายเป็น“เมืองพัก (เมืองท่องเที่ยว)”

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูปริยัติปัญญาโสภณ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand.

พระสุเทิด ทีปงฺกโร, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand.

References

กนิษฐา นิทัศน์พัฒนา. (2540). “ตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่”. เอกสารประกอบการอบรมโครงการ

เมืองน่าอยู่ เรื่องตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

เจ-ดี :วารสารวิชาการ (2559). การออกแบบสภาพแวดล้อม. ปีที่. ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน .

ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2540). แนวคิดและหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2530). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกิจกรรมเพื่อพัฒนาซนบท”. รายงานการวิจัย.กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2532). บทบาทพระสงฆ์ในการในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจฒ ประสานมิตร.