การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สหรัฐ กุลศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาขั้นตอนและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ด้วยการสัมภาษณ์นายกเทศมนตรี ในเขตเทศบาลตำบล จำนวน 25 แห่ง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างของประชาชนในเขตเทศบาลตำบล จำนวน 25 แห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ขั้นตอนและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนต่อกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการใช้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนเป็นเครื่องมือไปสู่การขับเคลื่อนร่วมกับกิจกรรมอื่น และงานวิจัยในเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือด้านวัฒนธรรม ปัจจัยภายนอกองค์กรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือด้านกำกับดูแล หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือด้านการมีส่วนร่วม และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ ด้านส่งเสริมสตรี ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านงานพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดเชิงลึกต่อความสำเร็จในการบริการประชาชน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). รายงานผลการศึกษาเรื่องการกล่าวหาการชี้มูลความผิดข้อทักท้วงและพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 24 ตุลาคม 2561

http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2016/7/2176_5794.pdf.

คำนึง สิงห์เอี่ยม,(2560).รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาลการ

บริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1:343-359.

พรทิวาอานวย, (2560). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง

จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ.(Proceedings)

การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภาคเหนือ ครั้งที่ 17.

วัชราภรณ์ พรมพลเมือง, ดร.พิชัยรัฐ หมื่นด้วง,(2558).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

จัดทำบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง

จังหวัด หนองบัวลำภู.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ

ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1“สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าว

อย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”ณ มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี“ราชธานีครั้งที่ 1”

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (ม.ป.ป.). ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 24 ตุลาคม

จาก http://wiki.kpi.ac.th.

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี.วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก: ปีที่ 36 ฉบับที่ 3.

กันยายน-ธันวาคม 2561.

อริสรา ป้องกัน,(2559).การบริหารจัดการที่ดีในการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหาร

ส่วนตำบลเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำฉบับสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2559.