การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อประสม THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ACHIEVEMENT IN ELECTRICAL CIRCUITS OF GRADE 6 STUDENTS USING A TEACHING MODEL 5-STEP QUEST (5E) WITH MIXED MEDIA

Main Article Content

วรรณภา ยาวะโนภาส
SANGDUAN KONGNAVANG

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E)ร่วมกับสื่อประสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อประสม ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนการแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E)ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสีหราชเดโชชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยการวิจัยเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียว ที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทประกอบด้วย1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้า โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อประสม จำนวน 6 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง  และ2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่า ความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.39-0.67 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.22 - 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้า โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อประสม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบค่า t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวงจรไฟฟ้า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5ขั้น(5E) ร่วมกับสื่อประสม พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


2.ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อประสม มีคะแนนเฉลี่ย 4.83 โดยมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ซึ่งเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


 คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) , สื่อประสม

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกรัตน์ วุฒิวิชาภรณ์. (2555). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับวิธี เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ชีววิทยาส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทวารวดี จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จรรยา เจริญรัตน์. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนด้วยวิธีแบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลธิชา พลชัย. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนสีหราชเดโชชัย. (2562). รายงานผลสถิติการทดสอบวัดผลระดับชาติ O-NET ประจำปี 2560 - 2562. ขอนแก่น: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสีหราชเดโชชัย.
สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ม.ป.ท: สถาบันฯ.
สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 - 2559). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Benjamin A Bloom. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company.