การพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think-Pair-Share

Main Article Content

ภรป ทับทิม
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค Think-Pair-Share ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ให้มีคะแนนตั้งแต่เกณฑ์ร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้าก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think-Pair-Share ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยใช้สถิติทดสอบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน กำลังศึกษาอยู่วิทยาลัยเทคนิคอุดร ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเครื่องวัดไฟฟ้า รหัสวิชา 30104–1002  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราช 2563  เรื่อง หลักการทำงานของเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสตรง จำนวน 14 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะทักษะการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้าทางการเรียนวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบอัตนัย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้า เรื่องการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1) หลักการทำงานโครงสร้างเครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า มีค่าร้อยละเท่ากับ 83.30 แปลผล ผ่านเกณฑ์ 2) ลักษณะการใช้งานของเครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.40 แปลผล ผ่านเกณฑ์ และ3) ประโยชน์ของเครื่องมัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้า มีค่าร้อยละเท่ากับ 88.90 โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งหมดของทักษะทางการเรียนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้าของนักเรียน มีค่าร้อยละเท่ากับ 88.87

  2. นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 16.39 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.50 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 25.17 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.33 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.35 และพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์

North eastern university, thailamd