การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Main Article Content

ลลิลทิพย์ วรรณพงษ์
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยให้นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปจากจำนวนนักเรียนทั้งหมดและ 2) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 ที่มีต่อการเรียนวรรณคดีไทยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวรรณคดีไทย จำนวน 30 ข้อ โดยใช้สถิติพื้นฐานเป็นค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า  1) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ 22.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.11 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนวรรณคดีไทยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ( = 3.71, S.D.= 0.07)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย, Northeastern University, Thailand.

Northeastern University, Thailand.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัตสุนีย์ สินธุสิงห์.(2532) วรรณคดีทัศนา.กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เจตคติต่อคณิตศาสตร์

และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2551).การเรียนรู้เชิงรุก.ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2562,จาก

www.academic.chula.ac.th/elearning/content/active%20learning_Taweewat

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นีรนุช พวงขาว.(2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการคิด

แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ,หม่อมหลวง.(2539).แนะแนวทางการศึกษาวรรณคดี.กรุงเทพฯ :

บัณฑิตการพิมพ์.

บุณยภัทร สมเพชร. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังผา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเชียงราย เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ประพันธ์ บุญพิมพ์, (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่

ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT).วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(3), 96-102.

พระมหาอภินันท์ นนฺทภาณี (คำหารพล). (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้

การเรียนรู้เชิงรุกสาระหน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิศอุดม พงษ์พวงเพชร.(2557).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิด

วิเคราะห์และความฉลาดเชิงจริยธรรม เรื่องสำนวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL).วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม , 4(3), 94-103.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์.(2523).ความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วทัญญู วุฒิวรรณ์.(2553) ผลการจัดการเรียนสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรลักษณ์ เอียดรอด.(2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบนิเวศ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบ

ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยม

ศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุชาดา แก้วพิกุล. (2555).การพัฒนากิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนอย่าง

กระตือรือร้นโดยเน้นการเรียนเป็นรายคู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลผสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์. (2559). การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เรื่อง ความ

หลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิเกียรติ เพิ่มขึ้น.(2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอิศรญาณภาษิต

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และการสอนแบปกติ. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562, จาก

: http://www.edujournal.ru.ac.th/index.php/abstractData/

indexBy.ru?bid=4&AbstractDataModel_page=2&AbstractDataModel

_sort=name_lastname.desc

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย.(2561) การเรียนรู้เชิงรุก : กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุค

การศึกษา 4.0.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,

(3 ), 61-71.

อดิศร ขาวสะอาด.(2555).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความและคุณลักษณะจิต

สาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม

รัชมังคลาภิเษก ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.