ภาวะผู้นำสู่การสร้างพฤติกรรมสร้างสรรค์ในพยาบาล Gen Y

Main Article Content

อัญชัญ วัฒนะพันธ์ศักดิ์
นวลใย พิศชาติ
สมหญิง ฤทธิลือไกร

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพฤติกรรมในการทำงาน ในปัจจุบันทีมงานทางการพยาบาลมักจะพบว่ามีพยาบาลในกลุ่มพยาบาล Gen Y เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆประกอบกับการบริการด้านการพยาบาลต้องให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้องทันเวลาในสภาวะที่หลากหลายและซับซ้อน พยาบาลต้องมีความคิดการให้บริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่เกือบตลอดเวลาตามบริบทที่แตกต่าง บทบาทของภาวะผู้นำของพยาบาลในการนำกลุ่มพยาบาล Gen Y มีความจำเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการสร้างพฤติกรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจและใช้ศักยภาพของพยาบาลกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรผู้นำต้องเปิดใจยอมรับ และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพยาบาลในกลุ่มนี้ในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านความเชื่อ ทัศนคติ คุณลักษณะ ความต้องการและการสร้างแรงจูงใจ อีกทั้งนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ผู้นำต้องมีความมั่นคงในอารมณ์ ได้รับความรู้ สิ่งแวดล้อมในงานที่เหมาะสม ส่วนปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในพยาบาลกลุ่มนี้โดยสร้างปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เช่น พฤติกรรมที่สร้างสรรค์ ต้องมีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาล มีทักษะเชิงสร้างสรรค์ และมีแรงจูงใจ ดังนั้นการพัฒนาการสร้างสรรค์ในพยาบาล Gen Y ต้องดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เปิดเผย ให้อิสระทางความคิด ให้บุคลากรกล้าเสี่ยง ตัดสินใจได้ มีเวลาให้ทบทวน ตึกตรอง ไม่ย่อท้อต่อความผิดพลาด สร้างความรู้ใหม่ ยอมรับความแตกต่างทางความคิดหรือผลงาน จะช่วยให้พยาบาล Gen Y มีความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นและส่งผลต่อคุณภาพการพยาบาลดีขึ้นอีกด้วย

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นวลใย พิศชาติ , มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย Shinawatra University, Thailand.

มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย

Shinawatra University, Thailand.  

สมหญิง ฤทธิลือไกร, มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย Shinawatra University, Thailand.

มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย

Shinawatra University, Thailand.  

References

เดชา เดชะวัฒนะไพศาล, มณีนุช จันทร์เที่ยง, วรกัญญา ตันติไวทยากุลและอัจจญา อภิวาท.

(2554). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 51(3), 1-33

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2545). การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง .

Amabile. T.M. (2012). Creativity in context: Update to the social psychology of

creativity. Borlder, CO: Westview Press.

Daft, R.L. (2005). The leadership experience. (3rd ed). Canada: Thomson South-

Western.

DeJong, P.J.,& Hartong, D.N. (2008). How leader influences employees’

Innovative behavior. Eurapean Journal of Innovation Mangement, 10, 41-64.

Keepnews, D.M., Brewer, C.S, Kovner, C.T, Shin, J.H. (2010), Generational

differences among newly licensed registered nurses. Nurs Outlook.2010; 58(3): 155-63.

MeGregor, J. (2007). The world’s most innovative companies. Business Week

Online, 4, 9.

Miron, E., Erez, M. and Naveh, E. (2004). Do personal characteristics and

cultural values that promote innovation quality and efficiency compete or complement each other? Journal of Organizational Behavior, 25(2), 175-199.

Tepna, A. (2016). Nursing retaining. In Jirathummakoon J. (eds). Nursing

management in 4G Plus. Bangkok: PBS Product.