แนวทางการฟื้นฟูอนุรักษ์ปลาร้าบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อภิชาติ บัวงาม
ไพศาล พากเพียร
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมาของการทำปลาร้าชุมชนบ้านปากน้ำ  และเพื่อศึกษาแนวทางการฟื้นฟูอนุรักษ์ปลาร้าบ้านปากน้ำ  ตำบลกุดลาด  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี  โดยใช้แบบสัมภาษณ์  ผู้ให้ข้อมูลหลัก  จำนวน 31 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์


                 ผลการวิจัย พบว่า


                 สภาพความเป็นมาในการผลิตปลาร้าบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการผลิตเพื่อการยังชีพ หาปลาจากการลากอวนในแม่น้ำมูลและใช้ปลาจากการเลี้ยงในบ่อดิน คุณภาพปลาที่สดมาทำปลาร้าจะมีคุณภาพที่ดี บรรจุภัณฑ์จะใส่ไหและกระปุก หมักแบบวิธีธรรมชาติที่สืบทอดกันมา  การผลิตปลาร้าจึงถือเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ เรียกปลาร้า ว่า “ปลาแดก”


                 แนวทางการฟื้นฟูชาวปลาร้าบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี   ควรมีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ผลิตปลาร้า  ควรหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อให้เพียงพอต่อการจัดทำปลาร้า  ควรมีการแปรรูปปลาร้าและผลิตภัณฑ์ปลาร้าสำเร็จรูป   ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการผลิต  สถานศึกษาต้องเข้ามาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  และควรมีการหาตลาดเพื่อรองรับในการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ไพศาล พากเพียร, Assistant Professor, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Assistant Professor, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

ประสิทธิ์ กุลบุญญา, Assistant Professor, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Assistant Professor, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

กอง เกษมทาง. (2561). ปัญหาของการผลิตปลาร้าบ้านปากน้ำ. บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, สัมภาษณ์.
จิราวรรณ แย้มประยูร, & อมรรัตน์ สุขโข.(2541). ปลาร้าสำเร็จรูปพร้อมปรุงชนิดผง-ก้อน.วารสารการประมง, 52(4):356-361.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2546). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สร้างสรรค์.
นันทิยา นางาม. (2551). การสืบทอดภูมิปัญญาและการพัฒนาปลาแดกบริเวณลุ่มน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ.(2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฝ่ายวิชาการธนาคารกสิกรไทย.(2533). ปลาร้าอาหารพื้นบ้านที่มีอนาคตไกล.วารสารเศรษฐศาสตร์การเกษตร, 5(1): 11-15.
พจน์ สัจจะ.(2540). โลกวัฒนธรรมของอาหาร. กรุงเทพฯ : แสดงแดด.
ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม.(2546). ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 25420. กรุงเทพมหานคร นานมีบุ๊คส์.
ลุน ฉัตรวิไล.(2561) ปัญหาของการผลิตปลาร้าบ้านปากน้ำ. บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, สัมภาษณ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม.(2541). วัฒนธรรมปลาแดก. สกลนคร : อร่ามการพิมพ์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2549). “พลังลาว,” ชาวอีสานมาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุชาวดี โหมกลาง.(2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนลุ่มน้ำมูลเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อ๊อดน้อย ลูกบางปลาสร้อย.(2538). เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตอนปลาร้าอีสานที่เป็นอีกหนึ่งตำนานของอาหารไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 23(4):216.