ผลการจัดกิจกรรมการเขียนพยัญชนะไทยโดยใช้รูปภาพประกอบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

ทรงพล จันทร์แดง
นนทชนนปภพ ปาลินทร
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
วิวัฒน์ เพชรศรี
ปาริชาติ สุภิมารส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปภาพประกอบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนมุกดาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน โดยแผนมีคุณภาพ ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ด้านความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทย จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.65-0.73 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.20-0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที กรณีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวและไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการจัดกิจกรรมการเขียนพยัญชนะไทยโดยใช้รูปภาพประกอบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนการจัดประสบการณ์ในภาพรวม เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 83.33 อยู่ในระดับต่ำ ทดสอบแล้วต่ำกว่าเกณฑ์ กรณีหลังการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มคิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับสูง ทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นนทชนนปภพ ปาลินทร, Ratchathani University

Ratchathani University

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, Ratchathani University

Ratchathani University

วิวัฒน์ เพชรศรี, Ratchathani

Ratchathani

ปาริชาติ สุภิมารส, Ratchathani

Ratchathani

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556).คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับเด็กวัยอนุบาลตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
ณัฐยาน์ เชาว์เฉลิมกุล. (2554). การศึกษาความสามารถเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
3-ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยจากการสอนที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกับการใช้รหัส. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาเนตร ธรรมบวร.(2559).การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล เฉียบแหลม.(2555). การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบธรรมชาติ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา วิยาภรณ์.(2557). ความพร้อมในการอ่าน เขียนของเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 8(3): 14-18.
สมศรี เมฆไพบูลย์วัฒนา.(2551).ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Dewey, J. (1962). School of Tomorrow. New York: Dutton.
Piaget, J. (1952). The Original of Intelligence in Children. New York: International University Press.