บทบาทของบุคลากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

พรลิขิต แสงพระจันทร์
ประสิทธิ์ กุลบุญญา
เรืองเดช เขจรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบุคลากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวิทยาลัยครูปากเซ  แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 278 คน และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างครูและนักศึกษา มีการส่งเสริมบุคลากรให้ทำงานเป็นทีมใหญ่ ด้านกิจกรรมในการรณรงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมให้นักศึกษาเลือกตามความถนัดและความสนใจ ด้านการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม มีการปลูกต้นไม้ให้ความร่มเย็นเป็นระเบียบสวยงาม ด้านการร่วมมือกับชุมชน มีการเชิญวิทยากรมาเผยแพร่แนวคิดจากชุมชนมาส่งเสริมสร้างสรรค์ในการทำงานรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารงานและรักษาสิ่งแวดล้อม มีการร่วมมือประสานงานกับวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) บทบาทบุคลากรในการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่า บทบาทบุคลากรต่อการจัดสภาพแวดล้อมในวิทยาลัยครูยังไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุกภาคส่วนควรเอาใจใส่และมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง บทบาทบุคลากรต่อการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ควรตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบมีการออกแบบวางแผน สร้างกระบวนการเอาใจใส่ต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกัน บุคลากรควรแสดงบทบาทในการเชิญชวนเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ในการบริหารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้บังคับบัญชาระดับสูงควรจัดสรรงบประมาณและอุปกรณ์ในการจัดการร่วมกับชุมชน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประสิทธิ์ กุลบุญญา , Ubon Ratchathani Rajabhat University

Ubon Ratchathani Rajabhat University

เรืองเดช เขจรศาสตร์, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

คณะศูนย์กลางพรรค. (2549), กองประชุมใหญ่ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวทั่วประเทศ ครั้งที่ 8. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว,.
คำพูน ตุไพทูนและสีตาน พมมะเทียบ.(2549), การบริหารโรงเรียนและการพัฒนาชุมชน. กลุ่มวิชาบังคับ สายสังคมประถม, นครหลวงเวียงจันทร์,2551.
ณัฐธยาน์ พลศรีเมือง. (2550), การบริหารสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา ตำบลเวียงเชียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เทพพนม เมืองแมน. (2529), พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550), ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.อุบลราชธานี : วิทยาออฟเชทการพิมพ์.
พงษ์ศักดิ์ เสคุคุมพัตถ์. (2552), การดำเนินงานสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ศุภาพร ผิวงาม. (2549), การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นบ้าน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมหวัง พิริยานุวัฒน์ และจรวย กลางณรงค์. (2534), การศึกษาเพื่อพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.