ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ บรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 4) ศึกษาบรรยากาศองค์การของโรงเรียน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน และ 6) สร้างสมการพยากรณ์บรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 325 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์มีจำนวน 12 ตัวชี้วัด องค์ประกอบการมีความยืดหยุ่นมีจำนวน 8 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์มีจำนวน 11 ตัวชี้วัด 2. การศึกษาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเพิ่มอีก 1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการปฏิบัติสู่เป้าหมาย และมีจำนวน 11 ตัวชี้วัด 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. บรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์กัน 6. สมการพยากรณ์บรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 62.10
Article Details
References
แม่วงศ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร
สถานศึกษาอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์ = Creative thinking. กรุงเทพฯ
: ศัคเศส มีเดีย.
คําเพชร ศิริบูรณ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัด
ร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัยวิทยา เขตล้านช้าง.
จารุวรรณ สิทธิโชค. (2555). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในเครือข่ายการศึกษาวังจันทร์ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
บูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธการพัฒนาความเปนบุคคลแหงการเรียนรู. กรุงเทพฯ: ขาวฟาง.
ไพฑูรย สินลารัตน. (2554). ผูนําเชิงสรางสรรค: กระบวนทัศนใหมและผูนําใหมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.
ชลบุรี: มนตรี.
มนตรี ศรีจันทร์อินทร์. (2559). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จันทบุรี-ตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจักขณ์ บุญมาเลิศ. (2553). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพยวิสุทธิ
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารถถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2554-2569). กรุงเทพฯ
: พริกหวานกราฟฟิค.
Ash, C. & Persall, J. M. (2000). The principals as chief learning officer: Developing teacher leaders. Journal of the National Association of Secondary Schools Principals. 84(616): 15-22.
Carson, P. P., & Carson K.D. (1993). “Managing Creativity Enhancement Through Goal
Setting and Feedback”. The journal of Creative Behavior. 27: 36-45.
Fox, Robert S., & Et,Al. (1973). School climate improvement: A challenge to the School administrator. Englewood, Colorado: Phi Delta Kappa.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Macro
Approach. New York: John Wiley & Sons.
Litwin, George H., & Robert . A. Stringer. (1968). Motivation and Organization Climate.
Boston, Division of Research, Graduate School of Business Administration.
Harvard University.
Locke, Edwin A. and Others. (1991). The Essence of Leaderships: The Four Keys
Leading Successfully. New York: Lexcington Books.
Shalley, E. C. (1991). “Effects of Productivity Goals, Creativity Goals and personal
Discretion on Individual Creativity”.Journal of Applied Psychology. 76: 179-185.
Shalley, C. E., & Gilson, L. L. (2004). Matching Creativity Requirements and The Work
Environment: Effects on Satisfaction and Intentions to Leave. Academy of
Management Journal. 43: 215-223.
Steers, R. M. (1997). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.
Sternberg, R. J. and Lubart, T. I. (1993). Creative giftedness: A multivariate investment
approach. Gifted Child Quarterly.