การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

วีระศักดิ์ สุทธิประภา
นวัตกร หอมสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และ 3) ประเมินระบบการจัดการความรู้การประกันคุณภาพภายในโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการประกันคุณภาพกภายในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างบุคลากรทุกคนในโรงเรียน จำนวน 205 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 24 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยทำการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 3 ประเมินระบบการจัดการความรู้ กลุ่มผู้ประเมิน จำนวน 24 คน จากระยะที่ 2 เครื่องมือเป็นแบบประเมินผลการพัฒนาการจัดการความรู้ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรฐานการดำเนินการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการสร้างระบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย ได้การจัดการความรู้ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความรู้ ขั้นตอนที่ 2 การจำแนกความรู้ ขั้นตอนที่ 3 การจัดเก็บความรู้ ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ไปใช้ ขั้นตอนที่ 5 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลความรู้ และ 3) ผลการประเมินระบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

นวัตกร หอมสิน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กรมวิชาการ. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


ชนาวุธ ประทุมชาติ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
ขุมคำ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นวัตกร หอมสิน. (2556). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน
มัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น
ประดิษฐ์ มีสุข. (2553). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.
สงขลา: เทมการพิมพ์
พิทักษ์ ดวงอาสา. (2558). สภาพความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พงศ์ธวัช วิวังสู. (2546). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้อง
กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช.(2548). สามเหลี่ยมความรู้.วารสารถักทอสายใยแห่งความรู้,6 (11),103-107.
เสนาะ กลิ่นงาม. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยคําแหง.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2553).ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้ในสถานศึกษา.บริหารการศึกษา
บัวบัณฑิต. 10 (3), 87-90
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
_____. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3)
พ.ศ.2553. กรุงเทพ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543ก). การพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบสู่การ
ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
_____. (2543ข). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อ
การพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2551). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.