ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 จากภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง เป็น ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย จำnนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ด้านการมีความยืดหยุ่น ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีจินตนาการ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ และด้านการเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง 4. สมการพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 จากภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย โดยมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ด้านการมีความยืดหยุ่น () ด้านการมีจินตนาการ () ด้านการเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง () และด้านการมีวิสัยทัศน์ () โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 70.20
Article Details
References
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: สิ่งที่ควรค่าสำหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
คุณาวุฒิ สิงห์ทอง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2557). รายงานวิจัย รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขาการบริหารการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง.
จันธิดา ผ่านผอง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย :แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
นเรศ บุญช่วยและคณะ. (2555). แผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 6(3), 156-166.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สยามการพิมพ์.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พุทธศักราช 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคํา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Burns, D. D. (1978). Feeling good: The new mood therapy. New York: William Morrow.
Guilford, J. B. (1992). The analysis of intelligence. New York: McGraw-Hill.
Isaksen, S. G., Dorva, K. B., & Treffinger, D. J. (2011). Creative approaches to problem solving: A framework for innovation and change. Los Angeles: Sage.
Lussier, R. N. (2001). Effective leadership. 3rded. Sydney: Thomson/South-Western.
Phornrungroj, Charnarong. (2003). Creativity. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Torrance. P. E. (1962). Guiding of creative talent. New Jersey: Prentice-Hall.