ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ชัยคำ
วันทนา อมตาริยกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและความผูกพันของครูในโรงเรียน และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย 291 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน  สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 4. วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยใช้ปัจจัยทางการบริหาร เป็นตัวแปรพยากรณ์ พบว่า โดยปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยทางการวางแผนงานวิชาการ และปัจจัยด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถพยากรณ์ความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ได้ร้อยละ 71.10 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

วันทนา อมตาริยกุล, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

References

กัญจน์ชัญญา สัมมาทรัพย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความ
ผูกพันของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดตาก.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
จุฑามาศ อินนามเพ็ง. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อ
ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครพนม
เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จีระศักดิ์ สุนันต๊ะเครือ. (2550). ความพึงพอใจและความจงรกภักดีของพนักงานสาย
ปฏิบัติการของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน). บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันของ
ครูของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย :
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย :แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Bakker, A. B., Schaufeli, W. B., Leiter, M. P., & Taris, T. W. (2008). Work
engagement:An emerging concept in occupational health psychology.
Work & Stress, 22(3), 187-200.