การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์สอน 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังคมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2561 จำนวน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังคมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.92) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญความคิดเห็นของครูสังคมศึกษา โดยจำแนกตามเพศ การศึกษา ประสบการณ์สอน ที่แตกต่างกัน พบว่า ครูสังคมศึกษาที่มีเพศ การศึกษา ประสบการณ์สอน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นของต่อการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน 3. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านปัญหา คือ 1) ครูบางท่านยังจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามหลักสูตรของสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) การจัดการเรียนรู้บางรายวิชายังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) การวัดผลประเมินผลบางรายวิชายังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4) ครูบางท่านยังขาดทักษะการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมถึงโรงเรียนยังขาดสื่อที่เหมาะสม และไม่เพียงพอต่อการใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านข้อเสนอแนะ คือ 1) โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ตรงและตอบสนองต่อหลักสูตรของสถานศึกษา 2) ผู้บริหารควรสนับสนุนให้คณะครูและบุคลากร เข้ารับการอบรมเรื่องการประเมินผล เพื่อให้การวัดผลประเมินผลเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) ครูและบุคลากร ควรมีการวางแผน นิเทศ ติดตามการเตรียมการสอน 4) ควรมีการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
Article Details
References
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ:คุรุสภา.
ประพิทย์ สุภาวหา. (2557). การบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตาม
ความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4.
พระครูขันติวโรภาส.(2556).การจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกบาลีเขตยานนาวา-สาทรและบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดจำนงค์ ทนฺตจิตฺโต. (2556). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารวิชาการ
ด้านการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์ชิษณุพงศ์ สนฺติมคฺโค. (2557). การบริหารการศึกษาด้านการเรียนการ
สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพงษ์ธวัช รตนวชิโร.(2557).การบริหารด้านวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 5 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม
2561:http://www.monknews.net/schoolworld/ubonratchathani.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดการประชุมทางวิชาการ เรื่อง
“การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบ O-NET และ PISA”.สืบค้นวันที่ 31
ตุลาคม 2561: http://www.niets.or.th.
สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอ
เกาะจันทร์ สำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2,
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สารานุกรมเสรี, การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สืบค้น
วันที่ 1 ธันวาคม 2561, https://th.wikipedia.org.
สํานักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(2560). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพฯ
: กรมการศาสนา.
______. (2561). คู่มือปฎิบัติงานโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2556). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: พลอยการ
พิมพ์.