ผลการใช้นิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้นิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทาง คณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปที่ 3 ก่อนและหลังการใชนิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านโนนงาม อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลองรวม 4 สัปดาห์ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ วันละ 40 นาที เวลา 09..20 – 10.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent-samples t-test analysis) ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานมีคะแนนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูงและหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเล่านิทาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ภัทรวดี หาดแก้ว, (2554). คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอบี กราฟฟิคส์ดีไซน์.
รุจินันทน์ ภาศักดี. (2553).การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นิทานกับการจัดการเรียนร้แบบปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วาสนา รัญระนา. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชธานี.