การพัฒนาโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในวัยสูงอายุ และ3) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research )โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อหาวิธีการบูรณาการหลักจิตวิทยากับพุทธวิธีเพื่อประยุกต์กับการฝึกโยคะอาสนะ พัฒนาเป็นโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยา จากนั้นนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ฝึกเพิ่มพฤฒิพลังให้แก่ผู้สูงอายุ แล้วประเมินผลการทดลอง พบว่า 1. การฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในวัยสูงอายุ ใช้การบูรณาการองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆคือ 1.1 โยคะอาสนะ เป็นการสร้างสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ 1.2 หลักจิตวิทยาการเสริมสร้างสุขภาวะพลังบวก 1.3 หลักพุทธธรรม พละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เพื่อสร้างพฤฒิพลัง กาย จิต สังคม ปัญญา ให้สมดุลกัน คือ 1) สามารถดูแลตนเองได้ เคลื่อนไหว ทำงานได้ 2) สุขภาพจิตใจดี มีความมั่นคง มีวุฒิภาวะด้านอารมณ์ดี 3) มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดีทั้งในครอบครัว และนอกครอบครัว 4) ใช้ปัญญาเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต มีความสงบเย็นภายในจิตใจ 2. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในวัยสูงอายุ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การอบรมปรับเสริมความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับพฤฒิพลัง อันสุขภาวะ 4 ด้าน ใช้เวลา 6 ชั่วโมง (1วัน) ระยะที่ 2 การฝึกด้วยตนเอง ที่บ้าน ทุกวัน วันละ 40 นาที เป็นเวลา 21 วัน ด้วยกิจกรรม หลัก 2 กิจกรรม คือกิจกรรมที่ 1การเคลื่อนไหวอย่างรู้ทัน เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายตามแบบหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ใช้เวลา 10 นาที เพื่อฝึกให้รู้จักการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ กิจกรรมที่ 2 รู้โยคะรู้สมดุล เป็นการฝึกโยคะแบบอาสนะ ฝึกสมาธิ ให้อิริยาบถ ผ่อนคลาย ร่างกายเกิดความสมดุล ตั้งตรง มั่นคง ยืดหยุ่น ช่วยให้กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อพยุงกระดูกสันหลังแข็งแรง กระตุ้นการทำงานของอวัยวะ ในช่องท้อง ทรวงอก ให้ทำงานเป็นปกติ ใช้เวลา 30 นาที การทดลองใช้โปรแกรมฝึก ผู้สูงอายุอาสาสมัคร จำนวน 10 คน เมื่อทำการสาธิตให้กลุ่มทดลอง ฝึกจนคล่องแล้ว ให้นำไปปฏิบัติเองที่บ้าน ทุกวัน เป็นเวลา 21 วัน ผู้วิจัยได้ติดตามผลการทดลองฝึกทางวิดีโอคอล ในเวลา 19.00 น. ทุกวัน 3. โปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ มีสุขภาวะทั้ง 3 ด้านดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะแนวพุทธจิตวิทยามีความสนใจต้องการฝึกโยคะอาสนะฯ ด้วยตัวเอง ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้ทำการฝึก เนื่องจากโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเพิ่มพฤฒิพลังในผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำและจะฝึกโยคะอาสนะต่อไป
Article Details
References
กายในผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). โยคะเพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. สนับสนุนโดย คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง จำกัด (มหาชน).
สมบูรณ์ วัฒนะ. (2559). แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์, ปีที่ 24 ฉบับที่ 44 มกราคม-เมษายน.
นครปฐม: วิทยาลัยศาสนาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สรายุธ มงคล. ( 2559). ผลของการฝึกโยคะต่อการขยายตัวของทรวงอกและความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อหายใจในอาสาเพศหญิง. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่.ปีที่ 49
ฉบับที่ 3 กันยายน 2559.กรุงเทพฯ :คณะกายภาพบำบัด วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.
Buckingham M, CliftonDO. Now. (2001). Discover Your Strengths.New York :
The Free Press.