แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันอุดมศึกษาไทย

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง
ไชยวัฒน์ ค้ำชู
ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันอุดมศึกษาไทย ดำเนินการศึกษาโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการศึกษาพบว่า ส่งเสริมการเรียนรู้จากยุคเดิมสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ต้องจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียน การทำงานและการดำรงชีวิต เน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตรเท่านั้นการส่งเสริมการเรียนในรู้ศตวรรษที่ 21 ต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ แบ่งปันความรู้และเนื้อหาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เน้นการสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิพากษ์ เน้นการใช้เครือข่ายออนไลน์ในการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เนื้อหาการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ และส่งเสริมความรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงมากขึ้น

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Shinawatra University, Thailand.

Shinawatra University, Thailand.

ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล, Shinawatra University, Thailand.

Shinawatra University, Thailand.

References

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์,และอุษา ชูชาติ. (2545). การเรียนรู้รูปแบบใหม่: ยุทธศาสตร์ ด้านนโยบาย
และการใช้ ทรัพยากร. สำนักพัฒนาการเรียนรู้และ เครือข่ายการศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม. รายงานการวิจัย, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาแห่งชาติ (สกศ.).
Michael, W. B., & Coffman, W. E. (1956). Taxonomy of educational objectives,
The classification of educational goals, handbook I: Cognitive domain
(B.S. Bloom, Ed.). New York: Longmans, Green and Company.
Partnership for 21st Century Skills. (2011). Framework for 21st Century
Learning. Retrieved September 1, 2016, From: http://www.p21.org
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century skills: Learning for life in our times.
California: John Wiley & Sons