ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง และภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 2). ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อแนวประสิทธิผลดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 3). ศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยเทคนิควิธีการเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ตัวอย่าง และเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เลือกใช้สถิติแบบอธิบาย และแบบอ้างอิงในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล กล่าวคือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติแบบอ้างอิง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูงและภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การเป็นองค์การสมรรถนะสูงนั้นจะประกอบด้วยปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและปัจจัยด้านบุคลากรที่มีคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ การมีโครงสร้างองค์การที่ยืดหยุ่น รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านการบริหารอื่นๆและการศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การอำนวยการ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ รูปแบบบริหารหรือการควบคุม การประสานงานหรือการสร้างทีม ทักษะบุคลากร ระบบปฏิบัติการ ค่านิยมร่วม ภาวะผู้นำ รวมถึงปัจจัยด้านการบริหารอื่นๆ ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูง และการศึกษาสามารถบรรลุวัตถุประสงค์แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
Article Details
References
ไชยนันท์ ปัญญาศิริ. (2559). การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระบบราชการไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี.
เชิงรณ ริมผดี, (2560). ตำรวจไทย 4.0.เข้าถึงจาก http://www.police9.go.th/attachments/ article/446/
บุศรินทร์ สุจริตจันทร์ (2553). รูปแบบองค์การที่มีศักยภาพการทำงานสูงของวิทยาลัยพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธารารัตน์ ภูศักดิ์และคณะ. (2558). ปัจจัยและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวลิน โปษยานนท์. (2556), การพัฒนารูปแบบเชิงโครงสร้างองค์การที่มีสมรรถนะสูงของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พเยาว์ อินทอง (2560). การพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่องค์การสมรรถนะสูง :กรณีศึกษากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน,บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพ็ญศรี ลี้สุวรรณกุล. (2559). การพัฒนาองค์การให้มีสมรรถนะสูง: กรณีศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
มานิตย์ แสนเกษม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของการไฟฟ้านครหลวง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธนบุรี.
ลัดดาวรรณ บุญล้อม (2553) การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งความเป็นเลิศ, บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สรวิชญ์ เปรมชื่น (2558). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม.
De Waal, A. A. (2007). The Characteristics of High Performance Organization.
Business Strategy Series. vol. 8, No.3 pp. 179-185. Emerald Group
Publishing Limited.
Keith F. Punch (1998). Introduction to Social Research: Quantitative and
Qualitative Approaches. London: Sage Publication.
Nastasi and Schensul (2005).Contributions of qualitative research to the
validity of intervention research. Journal of School Psychology.