ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยและ 2) เปรียบเทียบทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้การจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนไพลอำนวยวิทย์ อำเภอศรีณรงค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้เวลาในการวิจัยรวม 8 สัปดาห์ ใน วันพุธ วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 24 แผน แบบประเมินทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent-samples t-test analysis) ผลการวิจัย พบว่า
ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีคะแนนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูงและหลังการการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการการจัดประสบการณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ดักส์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ภาวะสังคมไทย
ไตรมาส หนึ่งปี . 10 (2). กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียน
การสอน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียน
การสอน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การปฏิรูปการศึกษา:วาระแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (ม.ป.ป.). ปฐมวัย: รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.
[ออนไลน์],เข้าถึงได้จาก: http://www.qlf.or.th/Mobile/
Details?contentld=1009. (2560, 18 ธันวาคม).
อรุณี หรดาล. (2555). การศึกษาปฐมวัยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : วิกฤตหรือโอกาส. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มสธ. 5 (2). 54-62.
National Childcare Accreditation Council. (2009). Supporting children’s development: Life skills.
Retrieved from http://ncac.acecqa.gov.au/educator-resources/pcf- articles/Life_skills_Dec09.pdf