ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการแบ่งปัน ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ก่อน ระหว่าง และหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนโพธิ์ศิลานาหว้า ตำบลโนนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 15 คน ใช้เวลาในทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 24 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย โดยใช้ผู้สังเกต 2 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต (RAI) 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measures ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
- พฤติกรรมการแบ่งปันของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ก่อน ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
- เปรียบเทียบพฤติกรรมการแบ่งปันของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ก่อน ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษา
ปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21.วารสาร พยาบาลทหารบก, 15.(1) น. 7-11.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่องจิตต ปัญญาศึกษาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญา ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชลลดา ทองทวีและคณะ. (2551). บทความการประชุมวิชาการประจาปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลักคะณา เสโนฤทธิ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสงคมของเด็ก ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.
Davidson (2012). Contemplative practices and mental training: Prospects for american education. Retrieved from http://www.investigatinghealthyminds.org/