ผลการจัดประสบการณ์ด้วยนิทานพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วิภาทรงศิริ สิงห์ชัย
อภิรดี ไชยกาล
นนทชนนปภพ ปาลินทร
จิตโสภิณ โสหา
ชลิลลา บุษบงก์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์ด้วยนิทานพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย และ 2)  เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยนิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กนักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโนนสังข์ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 16 คน ใช้เวลาในการวิจัยรวม 4 สัปดาห์ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ วันละ 40 นาที  เวลา 10.00 – 10.40 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบประเมินทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยนิทานพื้นบ้าน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent-samples t-test analysis)


 


ผลการวิจัย พบว่า 


         1) ความสามารถในการฟังและการพูดที่ได้รับการจัดประสบการณ์  โดยใช้นิทานพื้นบ้าน โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับสูง


         2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์  หลังการจัดกิจกรรมมีความสามารถในการฟังและการพูดสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม  อย่างมีนัยสำคัญ .01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อภิรดี ไชยกาล, Ratchathani University

Ratchathani University

นนทชนนปภพ ปาลินทร , Ratchathani University

Ratchathani University

จิตโสภิณ โสหา , Ratchathani University

Ratchathani University

ชลิลลา บุษบงก์ , Ratchathani University

Ratchathani University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร.
กรมอนามัย 2547.
กัญจนา ศิลปะกิจยาน. (2560). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านภาษา ใน
ประมวลสาระชุดการจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. 13-1- 16. นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
-------------. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคสามสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน จุลาลง กรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2540). วารสารการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : บริษัทเอดิสันเพรส โปรดักส จํากัด.
-------------. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ : โชติสุขการพิมพ.
-------------. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรูสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊กส์.
ดวงพร สัตนันท์. (2557) ผลของการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่ มีต่อความสามารถในการพูดเล่าเรื่องของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสต รมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-------------. (2535). “การเตรียมเด็กใหสงบ. เอกสารประกอบการอบรมหนา 8-12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณภา หารชุมพล. (2530) การฟังเข้าใจภาษาของเด็กไทย อายุระหว่าง 5 ปี ถึง 6 ปี 11 เดือน ในเขตกรุงเทพมหานคร .หมาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพฯ.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ. (2538). แนวการจัดประสบการณปฐมวัยศึกษา : แนวคิดสูปฏิบัติ (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพดวงกมล.
-------------. (2545). การวัดและแนวทางการประเมิน : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษา ศาสตร สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
-------------. (2547). การพัฒนาโครงการเด็กนักวิจัยและการประเมินเนนเด็กปฐมวัยเป็น สําคัญ (ปที่ 1). กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
-------------. (2550). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษา ศาสตร สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540). แบบสังเกตพัฒนาการเด็กวัยแรก เกิด - 6 ปี.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2552.
อภิรดี ไชยกาล. (2560).การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.