กลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนสุรพินท์พิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนสุรพินท์พิทยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 80 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 243 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 334 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินองค์ประกอบ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นและค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนสุรพินท์พิทยา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน รองลงมาคือ การพัฒนาด้วยการใช้แบบอย่างที่ดี การพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาด้วยการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การพัฒนาด้วยการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม สภาพที่พึงประสงค์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การพัฒนาด้วยการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ การพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาด้วยการใช้แบบอย่างที่ดี และการพัฒนาด้วยการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม PNImodifiedโดยรวม PNImodified = 0.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มี PNImodified สูงสุดคือ การพัฒนาด้วยการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาด้วยการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม PNImodified= 0.34 รองลงมาคือ การพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน PNImodified= 0.32 และการพัฒนาด้วยการใช้แบบอย่างที่ดี PNImodified= 0.31 ส่วนด้านที่มี PNImodified ต่ำสุดคือ การพัฒนาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน PNImodified= 0.30
- กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนสุรพินท์พิทยา ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ 4 เป้าประสงค์ 20 มาตรการ 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1 เป้าประสงค์ 6 มาตรการ 6 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 1 เป้าประสงค์ 4 มาตรการ 4 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้วยการใช้แบบอย่างที่ดี ประกอบด้วย 1 เป้าประสงค์ 3 มาตรการ 3 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ประกอบด้วย 1 เป้าประสงค์ 5 มาตรการ 5 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้วยการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1 เป้าประสงค์ 2 มาตรการ 2 ตัวชี้วัด
Article Details
บท
Research Articles
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านการควบคุมตนเองได้และความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545). กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2559). คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 - 2564). กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สวนีย์ รักษาวงษ์. การส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560, จาก http://click.senate.go.th/wp-content/uploads/2016/01/การส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.1977.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545). กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2559). คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 - 2564). กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สวนีย์ รักษาวงษ์. การส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560, จาก http://click.senate.go.th/wp-content/uploads/2016/01/การส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรม.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.1977.