คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร จำนวน 360 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของครู มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครอยู่ในระดับมาก 2. ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครอยู่ในระดับมาก 3. คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร มีความสัมพันธ์กัน 4. สมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร เป็นดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
= 1.351 + .425(X6) + .352(X5) + .117(X4) + .170(X2)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
= .560(X6) + .461(X5) + .188(X4) + .247(X2)
Article Details
References
เฉลิมขวัญ เมฆสุข. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 9(1), 33 – 50.
ณัฏฐา ผุดผ่อง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานและกลุ่มเจนเนอเรชั่นของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
ดวงสมร มะโนวรรณ. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลที่สังกัดโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และได้รับรองสถานพยาบาลของ JCI. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 7(1), 178 – 190.
ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพนต่อองค์การ: ศึกษากรณี บริษัท บริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤตกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้น.
ประทุม ฤกษ์กลาง. (2537). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กรและการปฏิบัติงานของครูกับกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ผจญ เฉลิมสาร. (2557). ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และคุณภาพชีวิตในการทํางานที่ส่งผลต่อ
ความจงรักภักดีของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พัชรี จันทร์ขาว. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
พูนพงษ์ คูนา. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เพ็ญศรี เวชประพันธ์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพทาย สาระชาติ. (2551) การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิภาวี สิทธิวัง. (2549). การใช้นำมันหอมระเหยในที่ทำงานที่มีผลต่อความพึงพอใจสภาพแวดล้อมในการทำงานและปฏิบัติงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศุภชัย วงศ์วรกาญจน์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมในกลุ่มชาเทรียม โฮเต็ล แอนด์ เรซิเด้นซ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมหวัง โอชารส. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ศึกษากรณีโรงเรียนนายร้อยตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สัณหวัช วิชิตนนทการ. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิจัย. 10(1), 169 – 188.
สาคร กิ่งจันทร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุภาภรณ์ ทิพย์โอสถ. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุรัฐ ศิลปอนันต์. (2545). การปฏิรูปโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ทีเจเจ.
โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน
มัธยมศึกษาอำเภอท่ามะกา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุบลวรรณ สงกรานตานนท์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Adler, M. A. (1993). Gender difference in job autonomy: The consequences of occupational segregation and authority. Sociological quarterly.
Allen, N. J., & Meyer, J.P. (1990). Organization commitment: evidence of career stage effect. Journal of business research, 26(5), 17.
Bakker, A. B., Schaufeli, W. B., Leiter, M. P., & Taris, T.W. (2008). Work engagement: An emerging concept in occupational health psychology. Work & Stress, 22(3), 187-200.
Bird, J. J. (2012). Teacher and Principal Perceptions of Authentic Leadership: Implications for Trust, Engagement, and Intention to Return. Journal of schools Leadership. 22(3), 425-461.
Buchanan. (1974). Building Organization Commitment: The Socialization of Manager in Work Organization. Journal Applied Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.
Casio, W. F. (1998). Manage Human Resources: Productivity, Quality of Work Life, Profits. New York: McGraw-Hill.
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1980). Work redesign. Menlo Park: Addison- Wesley.
Huse, E. F. & Cumming, T. (1995). Organization Development and Change. New York: West Publishing.
Monday, R. W. (2002). Human resource management. 8th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Mowday, Richard T. Steers, Richard M. & Porter, Lyman W. (1982). Employee Organization Linkage: The Psychology of Commitment, A bestial and turnover. New York: Academic Press.
Muchinsky, P. M. (2000). Psychology Applied to wirk: An Introduction to And Organizational Psychology. 6th ed. Australia: Wadsworth.
Skrovan, D. J. (1983). Quality of Work Life Perspective for Business and the Public Sector. Massachusetts: Addison-Wesley.
Walton, R. E. (2009). Criteria for Quality of Work Life in Louis El Davis and Albert B Cherns(eds): The Quality of Work Life. New York: Free Press.