เว็บฝึกอบรมห้องสมุดเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศ โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องการใช้สารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

พรทิพย์ เกิดถาวร
ศราวุฒิ เกิดถาวร

บทคัดย่อ

ภารกิจหลักที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ถือเป็นภารกิจหลัก คือให้บริการห้องสมุดให้แก่นักศึกษาบุคคลากรและบุคคลทั่วไป แต่ในการรู้สารสนเทศ การค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ การใช้บริการและการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด บริการต่าง ๆ เช่น บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยมุ่งหมายให้ทุกคนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้บริการและการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด การดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการแนะนำสถานที่จัดเก็บสารสนเทศในแต่ละส่วน การแนะนำบริการต่าง ๆ เช่น บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ และการสืบค้น ได้แก่  การสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรม (OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม ที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว  ซึ่งวิธีสืบค้นทำได้ง่าย  และมีหลายช่องทางให้เลือก ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ เก็บรายละเอียดของสารสนเทศที่มีจำนวนกว่า 50,000 รายการ เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ใช้เวลาในการดำเนินงานอย่างมาก นับตั้งแต่เวลาในการจัดเตรียม  จัดหาสถานที่  เวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมและปฐมนิเทศ เวลาของบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้งานประจำชะงัก  เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องละทิ้งงานเดิมมาทำกิจกรรม


    ปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานประจำกันมากขึ้น การจัดการฝึกอบรมก็เป็นอีกงานหนึ่งที่สามารถนำคุณลักษณะเด่นของอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการดำเนินงานเว็บฝึกอบรมแบบห้องสมุดเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศ โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องการใช้สารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จะช่วยลดภาระและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานฝึกอบรมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเรียนรู้ได้โดยอิสระ ปราศจากข้อจำกัด ด้านภูมิศาสตร์และเวลา  ตอบสนองความต้องการเรียนแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  สามารถปรับปรุงเครื่องมือฝึกอบรมได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


      ผลการวิจัย พบว่า เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด ๕ ตอน หลักการเบื้องต้นของ e-Learning การสร้างบทเรียน ระบบออนไลน์ การสร้างเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ การสร้างกิจกรรมบทเรียนออนไลน์ การใช้เทคนิคพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญประเมินอยู่ในระดับดีมาก


     ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีสมรรถนะ e-Learning อยู่ในระดับดีมาก


     ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังฝึกอบรม สูงกว่าค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมก่อน ฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


     ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีความพึงพอใจในการใช้เว็บ ฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ศราวุฒิ เกิดถาวร , Chaiyaphum Rajabhat University, Thailand

Chaiyaphum Rajabhat University

References

ปรัชญนันท์นิลสุข, “การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ
MIAP เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์”สำนักหอสมุดกลาง,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ, 2557
ปณิตา วรรณพิรุณ, “การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหา เป็นหลักเพื่อ
พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
บัณฑิต รุ่งเจริญพร และ ศศิฉาย ธนะมัย “การพัฒนารูปแบบเว็บฝึกอบรมอัจฉริยะผ่านการเรียนรู้โดย
ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบมีระบบที่ปรึกษา” วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557. หน้าที่ 99 – 107.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง “การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อ คุณภาพการ
เรียนการสอน” วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ 28 ฉบับที่ 1มกราคม –
มิถุนายน , 2544. หน้าที่ 87-94
วิยะดา วชิราภากร.(2547). การพัฒนาเว็บฝึกอบรม เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อ คุณภาพการเรียนการสอน. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ 28 ฉบับที่ 1มกราคม – มิถุนายน , 2544.
กิดานัน มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษาคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.