การยืมคำในภาษาไทย

Main Article Content

ปัณฑ์นพ ผจญทรพรรค
วุฒิ โพธิ์ทักษิณ
พระปลัดกำพล ปญฺญาวุฑฺโฒ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการยืมคำในภาษาไทย โดยศึกษาทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงภาษาโดยการยืมคำจากภาษาอื่นที่ปรากฏในภาษาไทย พบว่า เกิดจากเหตุผลหลัก ๆ 2 ประการคือ 1) เหตุผลด้านความจำเป็น เนื่องจากภาษาผู้ให้เป็นเจ้าของความคิดทางศาสนา ปรัชญา ค่านิยม อาหาร วิทยาการ ฯลฯ ซึ่งภาษาผู้รับไม่มีจึงยืมมาใช้ด้วยความจำเป็น 2) เหตุผลด้านจิตวิทยา ภาษาผู้ให้ เป็นผู้ครอบครองความรู้ ความคิด วิทยาการ ฯลฯ ซึ่งภาษาผู้รับไม่มีจึงเกิดการยืม ที่สืบเนื่องมาจากค่านิยมและทัศนคติ อันก่อให้เกิดผลการยืมในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การยืมคำศัพท์พื้นฐาน การยืมคำที่มีศักดิ์สูง การยืมมาใช้เป็นศัพท์ในวรรณคดีและการยืมเพื่อแสดงภูมิรู้ การยืมดังกล่าว ทำให้เกิดการยืมภาษาเกินความจำเป็น เช่น การที่ภาษาผู้รับใช้ศัพท์จากภาษาผู้ให้ที่มีความหมาย เหมือนกันทั้ง 2 ฝ่าย

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

วุฒิ โพธิ์ทักษิณ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระปลัดกำพล ปญฺญาวุฑฺโฒ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
จิราวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พรินติ้ง เฮ้าส์.
นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น.(2514) วิทยาวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: แพร่วิทยา.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2518). บาลี – สันสกฤตในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา
วิทยาลัยรามคำแหง.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.