ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนบ้านวังไหโนนสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

Main Article Content

ธาดา ภูพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน  ที่มีต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนบ้านวังไหโนนสมบูรณ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต  2  ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 108 คน  โดยศึกษาตามกรอบแนวคิด 5 ด้าน คือ หลักการกระจายอำนาจ  หลักการมีส่วนร่วม  หลักการคืนอำนาจ  หลักการบริหารตนเอง  หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  45  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นรายข้อระหว่าง  0.30 ถึง 0.85 และค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  0.87  สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                ผลการวิจัยพบว่า


          ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน  ที่มีต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนบ้านวังไหโนนสมบูรณ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต  2  โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ  ด้านหลักการกระจายอำนาจ  ด้านหลักการคืนอำนาจ  ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล  ด้านหลักการบริหารตนเอง   และด้านหลักการมีส่วนร่วม  โดยมีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน  คือ  โรงเรียนให้ผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มในโรงเรียนตัดสินใจพัฒนางานได้ด้วยตนเอง  โรงเรียนสนับสนุนส่งเสริมให้คณะกรรมการนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน  ระเบียบวาระมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ  โรงเรียนระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชนได้อย่างอิสระ  สถานศึกษามีการรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสาธารณชน


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
โกสุม ระภักดี. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารโรงเรียนบ้านนาสำราญรุ่งเรือง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. หนองบัวลำภู : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
จิราภรณ์ ศรีคำ. (2548). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนาธิป ข่าขันมะลี. (2548). ศึกษาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณรงค์ อภัยใจ. (2549). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเมืองกื้ด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดาวเรือง กินาวงศ์. (2553). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนบ้านเวียงฝาง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนัส วิชาเจริญ. (2553). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทรงศักดิ์ ดวงจันทร์. (2552). การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยองค์คณะบุคคล ในเขต พื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย.
บุญเทียบ ยงทะเล. (2547). ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. สารนิพนธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประกอบ กุลเกลี้ยง และคณะ. (2547). การบริหารโดยองค์คณะบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูป การศึกษา.
พิชัย เพชรไทย. (2546). การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและแนวทางพัฒนาการบริการชุมชนของ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหา บัณฑิต. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2553). การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน. กรุงเทพฯ : ปราชญา พับบลิชชิ่ง.
วัชรินทร์ นาคเกษม. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารโรงเรียนบ้านกุดเต่า สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. หนองบัวลำภู : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศักดา สถาพรวจนา. (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณ์ พารเพิง. (2548). ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาในเขต พื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.
หนึ่งฤทัย ปานอริยะนันท์. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของโรงเรียนบ้านหัวทะเล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อาสรา คัวอักเถิง. (2551). สภาพการจัดการศึกษาของขาราชการครูในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายศรีบุญเรือง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. หนองบัวลำภู : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
โอวาท ศรีจันทร์เวียง. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาร โรงเรียนบ้านหนองทุ่ม อำเภอโนนสัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. รายงาน การศึกษาอิสระ กศ.ม. หนองบัวลำภู : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Abdel-Hady,M.E. (1990). A suggested model for community participation in the Administration of public education in Egypt. Dissertation Abstracts Internation. 51(10), 3276-A
Back, O.P. & Murphy. (1998). What’s ahead for tomorrow’s principal. Principal. 78(1), 13- 16.
Barnes, R.A. (1995). African American parents : Involvement in their children’s schooling. Dissertation Abstracts Internation. 55(10), 3152-A.
Freeman, M.A.,&Karr-Kidwell. (1998). Parental opinion and teacher student
Perception regarding parents’ involvement in their children’s education and development. Eric database search. Available. http://www.Ericfacility.net. (5 July 2016).
Joyce,H.L. (1992). Parental choice in public elementary school ; who chooses and why (school chooses). Dissertation Abstracts Internation. 2310-A.
Michael, A. (1992). Breaking the Maya Code. London : Thames&Hudson
Pallozzi,D.P. (1981). A model for community participation in local school district decision making. Dissertation Abstracts Internation. 42(4), 1481.
Quandahl. (2001). The instruction practices of kindergarten teacher ; Effects on Student Achievement. Retrieved from http://www.lib.umi.com/dissertion/Fullcit/3003159. (4 July 2016).