พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1

Main Article Content

พระมหาสถิตย์ สุทฺธิมโน
สุรพล พรมกุล
ปรัชญา มีโนนทองมหาศาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอคติ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามปัจจัยส่วนบุคคล และตามหลักอคติ 4 4) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ แล้วจึงนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. 2. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1 ตามหลักอคติ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

             3.ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ฉันทคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ โดยรวมต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


  1. 4. การส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ ๑ และตามหลักอคติ ๔ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างเป็นรูปธรรมให้ทั่วถึงทุกกลุ่มคน และควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุรพล พรมกุล, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ปรัชญา มีโนนทองมหาศาล, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กนก จันทร์ขจร. (2549). คู่มือธรรมเพื่อชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : หจก.จิรรัช การพิมพ์.
จังหวัดขอนแก่นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป. (2562). สืบค้น 1 สิงหาคม 2563.
เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki.html)
ชนิดาภา มงคลเลิศลพ. (2559). ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษา
กรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์)
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตร.
นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัด
นครสวรรค์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นุกูล ชิ้นฟัก วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล และจิราพร ปลอดนุ้ย. (2561). พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามระบอบ
ประชาธิปไตยในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นภาพร หมื่นจง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง. สารนิพนธ์
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย. หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชน
กรุงเทพมหานคร. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง
มหาวิทยาลัยเกริก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ิ 17).
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
นครนายก. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. (มหาวิทยาลัยเกริก. บัณฑิตวิทยาลัย).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี. รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
วินิจ ผาเจริญ. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน
ในพื้นที่เลือกตั้งซ่อมเขต 8 จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุรพล พรมกุล. (2559). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น.
วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2558 - กุมภาพันธ์ 2559.
สุวรี ศิริโภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลบบุลี : สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง.
สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.