การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทยแบบผสมผสานเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

วทัญญู ขลิบเงิน

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรายวิชาภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทยแบบผสมผสานเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากใช้ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น และ  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบแผนการวิจัยแบบ รูปแบบ One-Shot Case Study กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/2563 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) และใช้แบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) นำ และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)        


 


ผลการวิจัยพบว่า


ชุดการสอนรายวิชาภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทยแบบผสมผสานเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.74, S.D.=0.31) ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2 = 80.33/85.56) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (= 25.66 ,S.D. = 3.05) การวิเคราะห์ค่าทางสถิติ t-test dependent กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดการสอน ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดการสอนในระดับ มาก 

Article Details

บท
Research Articles

References

ขวัญจุฑา คำบรรลือ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). “การประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวม
สายพันธุ์กล้วย เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร”. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2560, 184 – 193.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน”. วารสาร
ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2556)
นคร ละลอกน้ำ. (2561). การพัฒนาแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่
สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือ
เทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561).
นิคม ทาแดง และคณะ. (2546). หน่วยที่ 6 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษา.
ประมวลสาระชุดวิชาบริบททางการศึกษา. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เนติลักษณ์ สีสัตย์ซื่อ และดลฤทัย บุญประสิทธิ์. (2562). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
การจัดการเรียนรู้ของครูระดับมัธยมศึกษา”. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย
สวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2562).
บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วทัญญู ขลิบเงิน. (2560). เอกสารประกอบการสอนภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทย.
อุตรดิตถ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วนัชพร ไกยราช. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการ
เรียนรู้สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร. การค้นคว้า
ด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). “การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง”. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 13 ฉบับที่ 12 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2554).
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ม.ป.ป.
แสงเทียน ทรัพย์สมบูรณ์ กฤติกา สังขวดี และปัญญา สังขวดี. (2559). “การพัฒนาสื่อ
การสอนเทคโนโลยีร่วมสมัยคิวอาร์โค้ด เรื่องลีลาศ”. รายงานสืบเนื่องการ
ประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 22-23 สิงหาคม 2559.
765-776.