การส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่นตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พระมหาสุรศักดิ์ สุวณฺณกาโย
สุรพล พรมกุล
ชาญ ชัยฮวดศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้นำท้องถิ่น 3) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่น จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล และตามความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้นำท้องถิ่นตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 4) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างการส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่น และตามความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้นำท้องถิ่นตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างตัวอย่าง มีจำนวน 395 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ แล้วจึงนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า


             1) ระดับการส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่นตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก


             2) ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้นำท้องถิ่นในตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก


             3) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีการส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่น ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน และตามความคิดเห็นของประชาชน จำแนกตาม ด้านเมตตา ด้านกรุณา ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


             4) แนวทางในการสร้างการส่งเสริมหลักนิติธรรม พบว่า ผู้นำท้องถิ่นควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย ให้เคารพในสิทธิเสรีภาพผู้อื่น และส่งเสริมความสามัคคี


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุรพล พรมกุล, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ชาญ ชัยฮวดศรี, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กรพจน์ อัศวินวิจิตร. (2560). หลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะของรัฐ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 19 เล่มที่ 55 เดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ. 2560.
คมสัน สุขมาก. หลักนิติธรรมกับการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของพนักงานสอบสวน. วารสารการเมืองการบริหาร และกฎหมาย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1.
นิตยา นิยมวงศ์. (2555). การศึกษาคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.
พระประกอบ ถิรจิตฺโต (คำพิมพ์ ). (2558). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.
เหมือนฝัน นาครทรรพ และธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2556). สัมพันธภาพทางสังคม พรหมวิหาร 4 การรับรู้คุณลักษณะของงาน และความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน จังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 39 ฉบับที่ 2.
ศรีพัชรา สิทธิกำจร แก้วพิจิตร. (2551). “การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน”. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2555). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.
วิทยา เอื้องเพ็ชร์. (2554). คุณธรรมตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. โอเดียนสโตร์: กรุงเทพมหานคร.
อุเทน ชัชศฤงศารสกุล. (2555). หลักนิติธรรมและข้อสังเกตเบื้องต้น. บทความ. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเฟือง. 2563.
A.V. Dicey, (1885). Introduction to the Study of the Law of the Constitution. London: Macmillan.
Henry Campbell. (1995). Black’s Law Dictionary. Boston: West Publishing.
Phra Thammapitok, P. Payutto. (2003). Buddhist dictionary The Code (1st ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.
Taro Yamane. (1976). Elementary sampling theory. London.
Teece, D. (1990). Firm capabilities, resources and the concept of strategy. Economic analysis and policy and Teece, D. J., Pisano, G., & Shuen, A. (1997). Dynamic capabilities and strategicmanagement. Strategic management journal.
Uriarte, M., López, O., Blasi, J., Lázaro, O., González, A., Prada, I., & García, A. (2018). Sensing enabled capabilities for access control management. In Integration, Interconnection, and Interoperability of IoT Systems.