ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาใน สังกัด อาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เฉลิมพล วงศ์พระลับ
วานิช ประเสริฐพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น2)เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่21 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ผู้บริหารและครูผู้สอนสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 317คนแบ่ง เป็นผู้บริหาร 45   คน   ครูผู้สอนจำนวน 272 คน  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified   Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนเป็นประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าทดสอบ T-test

            ผลการศึกษาพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความสามารถในการใช้เครื่องมือทางดิจิทัล รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล 

  2. เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา พบว่า

               2.1 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบสถานภาพทางเพศ ระหว่าง เพศชาย กับ เพศหญิงภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 รายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาวิชาชีพ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ใน4ด้านที่เหลือ   ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05                                                


               2.2 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบสถานภาพทางตำแหน่งในสถานศึกษา ระหว่างผู้บริหาร กับ ครูผู้สอน ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 รายด้าน พบว่า ทั้ง 5 ด้าน  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 


               2.3 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบสถานภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก สถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดใหญ่ ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 รายด้าน พบว่า ทั้ง 5 ด้าน  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

วานิช ประเสริฐพร, Master of Education Program (M.Ed.) in Educational Administration Faculty of Education, Northeastern University

Master of Education Program (M.Ed.) in Educational Administration

Faculty of Education, Northeastern University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์
สารสนเทศ.
จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์ ธนพร กิติพิเชฐสรรค์(2560) ภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 สืบค้นเมื่อ1ตุลาคม2563,
จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/106342
บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
โรงเรียนขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรานอม หยวกทอง.(2560).ลักษณะของสารสนเทศที่ดี.สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563,
จาก http://site.google.com/site/kroonom/laksna-khong-sarsnthes-thi-di
ปาจรีย์รักษ์ ถนอมทรัพย์. (2556) ความหมายของ Learning Environments. สืบค้นเมื่อ 10
ตุลาคม 2563, จากhttp://immyberry.blogspot.com/2013/11/learning-environments.html
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). การเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล. [ม.ป.ท.:ม.ป.พ.]
สุเหด หมัดอะดัม และสุนทรี วรรณไพเราะ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษาตาม ความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15 มีนาคม 2562. หน้า 1905-1915.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563, จาก http://www.pracharathscool.go.th/skill/detail/52232
Krejcie and Morgan (1998). Retrieved October 02, 2020,
https://sites.google.com/site/bb24559r/khnad-khxng-klum-tawxyang-thi-hemaa-sm
Lee, D.M. (2008). Essential Skills for Potential School Administrators: A Case
Study of One Saskatchewan Urban School Division. Saskatoon: University of Saskatchewan