การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูปลัดวิฐชญฐานนท์ อคฺคปญฺโญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ตามแนวพระพุทธศาสนา  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ๒๑ รูป/คน  เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาข้อมูลไปสู่การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง ๓๒๘ คน  โดยการแจกแบบสอบถามเพื่อหาสาเหตุและปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในด้านการฝึกอบรม การศึกษาและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามหลัก ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เพื่อเป็นแนวทางเป็นมาตรฐานก่อนนำเสนองานวิจัยต่อสาธารณะ  


ผลการวิจัยพบว่า 


          ๑.สภาพทั่วไปของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะสมรส ร้อยละ ๔๕.๗  เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๗๓.๕ อายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี ร้อยละ ๔๖.๐  การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ ๕๙.๑  เป็นข้าราชการ ร้อยละ ๕๔.๖ และมีประสบการณ์ในการทำงาน ๖ –๑๐ ปี ร้อยละ ๔๙.๑  สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอ  ดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในภาพรวมพบว่า ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษาและด้านการพัฒนา รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๐๔ , S.D. = ๐.๖๙๘) และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน


๒.แนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  คือ  ๑) ด้านการฝึกอบรม จัดโครงการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะ ตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล การฝึกอบรมขั้นศีล  คือ ปรับแก้การแสดงออกของพฤติกรรมกาย วาจา  ขั้นสมาธิ  คือ พัฒนาจิตใจให้มีสภาวะอดทนสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  ขั้นปัญญา คือชี้แนะให้เห็นพฤติกรรมรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ  ๒) ด้านการศึกษา ได้ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้เป็นอย่างดี  ขั้นศีลคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยระบบการศึกษา  ขั้นสมาธิ คือ พัฒนาพฤติกรรมจิตใจให้มี EQ  ขั้นปัญญา คือ ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม  ๓) ด้านการพัฒนา ขั้นศีล คือ ให้การบ่มเพาะพฤติกรรมนิสัยที่ดีงาม  ขั้นสมาธิ คือ ฝึกจิตใจให้เป็นไปในทิศทางที่ควร  ขั้นปัญญา คือ ส่งเสริมพัฒนาให้มีการศึกษาเพิ่มเติม ส่วนการพัฒนาศักยภาพ คือ กลุ่มของความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และคุณลักษณะ (attributes) ที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีผลกระทบต่องานหลักของตำแหน่งงานนั้นๆ โดยกลุ่มความรู้ ทักษะและคุณลักษณะดังกล่าวสัมพันธ์กับผลงานของตำแหน่งงานดังกล่าวและสามารถวัดผลเทียบกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและเป็นสิ่งที่สามารถเสริมสร้างขึ้นได้ โดยผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนาอย่างเป็นระบบ


          ๓.แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ๓ ด้าน ได้แก่ T (training) การฝึกอบรม, E (education) การศึกษาและ D (development) การพัฒนา  นำมาประยุกต์ใช้กับหลักพระพุทธศาสนา คือ หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งหลักธรรมนี้ก่อให้เกิดศักยภาพของบุคลากร ๓ ด้าน คือทางด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยที่พึงประสงค์  ดังนั้นแนวทางการพัฒนา สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับแนวทางจากการสังเคราะห์แนวคิด (Synthesis Model) คือ  TED + SSP = KSA

Article Details

บท
Research Articles

References

ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Sources) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. เอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources)

(๑) หนังสือ :
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลกรมส่งเสริมการปกครอง . ท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครอง . ท้องถิ่น, ๒๕๕๐.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิดและหลักการ. กรุงเทพมหานคร : . บริษัท ส.เอเซียเพรส จำกัด, ๒๕๕๐.
จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. การฝึกอบรมเชิงพัฒนา (Training and Development). . กรุงเทพมหานคร : พี เอลิ, ๒๕๔๒.
เจษฎา นกน้อย. แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ . มหาวิทยาลัย : ๒๕๕๒.
จุมพล หนิมพานิช. การบริหารและการพัฒนาองค์การหน่วยที่ ๔. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๕.
ชมพันธุ กุญชร ณ อยุธยา.การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ, . ๒๕๔๐.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มปป : มปพ.
ชูชัย สมิทธิไกร. จิตวิทยาการฝึกอบรมบุคลากร. เชียงใหม่ ภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๘.
________. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
เชาว์ โรจนแสง. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่ ๑-๗. พิมพ์ครั้งที่๓. . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๔.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์, . ๒๕๔๗.
ดนัย เทียนพุฒ. กลยุทธ์การพัฒนาคนไขปัญหาคาใจนักฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพสุรพิม , . ๒๕๔๑.
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. การปกครองท้องถิ่น : ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน , . กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน, ๒๕๔๓.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. พุทธศาสนากับสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : วิถีทัศน์, ๒๕๔๕.
ทองใบ สุดชารี. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. อุบลราชธานี : กิจเกษมการพิมพ์, ๒๕๔๓.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. . กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, มปป.
ธารพรรษ สัตยารักษ์. Human Resource Management หลักการและมุมมองมืออาชีพ. . กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์, ๒๕๔๘.
นงนุช วงษสุวรรณ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ . เอกสารอัดสำเนา,๒๕๔๖.
บูฆอรี ยีหมะ. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, . ๒๕๕๐.
ประสาท อิศรปรีดา. สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๖. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานา . วิทยา, ๒๕๔๙.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี . ไทยญี่ปุ่น, ๒๕๔๗.
พงศ์ หรดาล. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น, (อัดสำเนา), ๒๕๔๐.
พนิจดา วีระชาติ. การฝึกอบรมกับการพัฒนาอาชีพ, (กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, . ๒๕๔๓.
พุทธทาสภิกขุ. เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพมหานคร : จักรานุกุลการพิมพ์, ๒๕๒๙.
__________. เป้าหมายของการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิพพาน, ๒๕๓๗.
__________. คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา, . ๒๕๔๔.
__________. วิธีแก้ปัญหาชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงธรรม, ม.ม.ป.
__________. การศึกษาสมบูรณ์แบบ : คือวงกลมที่คุ้มครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพมหานคร : อุษา . การพิมพ์, ๒๕๔๙.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : อรินทร์พริ้น . ติ้งกรุ๊ป, ๒๕๓๓.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง, พิมพ์ครั้งที่ ๓๐ .กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธ . ธรรม, ๒๕๓๙.
__________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่๙.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ . มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
__________. ถึงเวลาพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๐.
__________. ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎกหมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, . ๒๕๔๓.
__________. พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จำกัด , . ๒๕๔๔.
__________. สู่การศึกษาแนวพุทธ.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การขนส่งสินค้า . และพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๖.
__________. พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม, ๒๕๔๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม,พิมพ์ครั้งที่๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา . ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
__________. การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ ๗ . กรุงเทพมหานคร : . บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๐.
__________. การศึกษากับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม . จำกัด, ๒๕๔๔.
__________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒.กรุงเทพมหานคร : โรง . พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๖.
__________. พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม, พิมพ์ครั้งที่ ๖.กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก , . ๒๕๔๙.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ทางสายกลางของการศึกษาไทย, พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพมหานคร: . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๐.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ทิศทางการศึกษาไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร : มหา . จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๖.
พะยอม วงศสารศรี, องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๘.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติขจร. แนวคิดยุทธศาสตร์ การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น . (อปท.) ในโลกโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน, ๒๕๕๒.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร. เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม(Training and Meeting . Techniques). (อัดสำเนา), ๒๕๔๙.
มหาวิทยาลัยรามคําแหง. แผนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ประจำปีงบประมาณ . พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๕. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๒.
ยงยุทธ เกษสาคร. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เอกสารและตำราสถาบันราชภัฏ . สวนดุสิต, ๒๕๔๑.
ยนต์ ชุ่มจิต. การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์,๒๕๔๔.
ยุวัฒน วุฒิเมธี. หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : ส.ส.น.ไทย . อนุเคราะห์ไทย, ๒๕๒๖.
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่มที่ ๑๒๐ ตอนที่ ๑๐๗ ก. ประกาศเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน , . ๒๕๔๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับ ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัท . นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด ,๒๕๔๖.
รังสรรค์ ธนะพันธุ์ (แปล). เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : ศิวพรการพิมพ์, ๒๕๑๗.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. องค์การและการจัดการงานบุคคลหน่วยที่๑๑. พิมพ์ครั้งที่๖. นนทบุรี : . สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๓.
วรนารถ แสงมณี. การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : งานตำราและเอกสารการ . พิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, . ๒๕๔๓.
วิจิตร อาวะกุล. คู่มือฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, . ๒๕๔๐.
วิทยา กรเชียงกูล. การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย : บทวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ . ฉับแกระ, ๒๕๒๗.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิจิตร . หัตถกร, ๒๕๕๐.
วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ. การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, . ๒๕๔๓.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย : กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย . กรุงเทพมหานคร : จุดทอง, ๒๕๔๗.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. คู่มือการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ. . สถาบันพัฒนาขาราชการพลเรือน, ๒๕๔๙.
สนธยา พลศรี . ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์ , . ๒๕๔๗.
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่๑๓. กรุงเทพมหานคร : . สวัสดิการสำนักงานก.พ., ๒๕๓๐.
สมใจ ลักษณะ. การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ ๕ .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ . เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๙.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองไทย.กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต . พัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๙.
__________. ความรูทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๒.
สมิต อาชวนิจกุล. พัฒนาแนวทางก้าวหน้าแนวทางปรับปรุงตนเองสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: . นวสารินการพิมพ์, ๒๕๔๔.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วยCompetency BasedLearning. . พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พรินท์ จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘.
สุจิตรา ธนานันท์. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒน . บริหารศาสตร์, ๒๕๕๐.
สุนันทา เลาหนันทน์. การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ดดีบีุคสโตร์, ๒๕๔๔.
สุปราณี ศรีฉัตราภิมุข. การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย . เกษตรศาสตร์, ๒๕๔๒.
สุมน อมรวิวัฒน์. การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพมหานคร : . โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์, ๒๕๓๐.
สุภาพร พิศาลบุตรและยงยุทธ เกษสาคร. การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. พิมพครั้งที่๕. กรุงเทพ . มหานคร : BK อินเตอร์พรินท์ จำกัด, ๒๕๔๙.
สุรชาติ ณ หนองคาย. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสุขภาพ. เอกสาร . ประกอบคําบรรยาย. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล, (อัดสําเนา).
สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จำกัด, . ๒๕๔๗.
เสน่ห์ จุ้ยโต. การจัดการทรัพยากรมนุษย์.พิมพ์ครั้งที่๗.นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร . มาธิราช, ๒๕๔๗.
เสรี พงศ์พิศ. ฐานคิด : จากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร : พลังปัญญา, ๒๕๔๘.
อนิวัช แก้วจำนง. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สงขลา : บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด, ๒๕๕๒.
อาภรณ์ ภูวิทยพันธุ. การพัฒนาบุคลากร.กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ . เพื่อองค์กร, ๒๕๔๘.
อำนวย แสงสวาง. จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพย์ . วิสุทธิ์, ๒๕๔๔.
อินถา ศิริวรรณ .พื้นฐานการศึกษา. วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช . วิทยาลัย , ๒๕๔๔.

(๒) วิทยานิพนธ์ :
กุลชลี พวงเพ็ชร์.“กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย : ศึกษา . เฉพาะกรณีการฝึกอบรม”.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(บริหารธุรกิจ).บัณฑิตวิทยาลัย . มหาวิทยาลัย. รามคำแหง, ๒๕๕๐.
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่งและคณะ. “การบริหารทรัพยากรมนุษย์และบุคคล = Human resoures and . personnel management”. ขอนแก่น : ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ . สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๓๙.
เกษม หลากวนวัน. สภาพปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการส่วน . ภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา ๙. . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัยจุฬา . ลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
โกวิทย์ พวงงาม. "แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น" รายงานการวิจัย. ทุนสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : . กระทรวงมหาดไทย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๙.
ชวลิต อยู่ภักดี . ศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : ประเทศไทย . ลาว และเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร . ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ , ๒๕๓๙.
ชัญญาณัฏฐ์ จิณณณัฐชา. การพัฒนาบุคลากรโดยใช้แนวทางสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร . มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร,
๒๕๕๔.
ช่อเพชร เบาเงิน. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการ . ตระหนักรู้ของผูบริหารสถานศึกษาสังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. . ปริญญานิพนธ์ กศ.ด (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร, . ๒๕๔๕.
ฌาน ตรรกวิจารณ์. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชารัฐ
ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๐.
ฐิติพร พิชญกุล. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการแก้ปัญหาเชิงอนาคตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย
อลงกรณในพระบรมราชูปถัมภ์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา
,กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๗.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. การวิเคราะห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขา. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธ . ศาสนา) .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๕๕.
ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านสุขภาพสำหรับครูทีม . สุขภาพจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา) . . นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, ๒๕๕๕.
บุญแสง ชีระภากร. ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ปรัชญา . ดุษฎีบัณฑิต ( รัฐประศาสนศาสตร์ ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๒.
บัณฑิต ตั้งประเสริฐ. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักจัดรายการวิทยุ . กระจายเสียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณทิต. . สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, ๒๕๕๐.
บุษกร วัฒนบุตร. การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุน . มนุษย์ในองค์กรมหาชน. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย . ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ , ๒๕๕๔.
พระบุญชู กัลณา. การวิเคราะห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ศิลปศาสตร . มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผนการปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครู
คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ . การศึกษาแหงชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๖.
พูนสุข มาศรังสรรค์. การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์. บัณฑิต . วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
ไพฑูรย์ สมแก้ว และคณะ. “การวิจัยเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับท้องถิ่นกรณีศึกษาช่องทาง . ทุจริตในระดับตำบล : ปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเชิงโครงสร้าง . ระดับท้องถิ่น”. รายงานวิจัย. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม . (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, ๒๕๔๘.
เรวัต ทัตติยพงศ์. ทัศนะของขาราชการกองอาคารกรมช่างโยธาทหารอากาศกองบัญชาการ สนับสนุน . ทหารอากาศต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. . สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๐.
วนิดา กันตะกนิษฐ์. การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยการสอน . แบบไตรสิกขา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, . ๒๕๕๑.
วันชัย สุขตาม. การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์. รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๕๕.
ศักดาพินิจ ณรงค์ชาติโสภณ. การวิเคราะห์นโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน . ท้องถิ่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต( รัฐศาสตร์ ). บัณฑิตวิทยาลัย : . มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๙.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การปรับปรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะ . นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓.
สมชาย สรรประเสริฐ. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว สำนัก . งานตำรวจแห่งชาติ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, . ๒๕๕๒.
สุจิต บุญบงการ. พรศักดิ์ ผ่องแผ้วและไมเคิล เนลสัน. การเมืองท้องถิ่นของ อบต. และ อบจ., . รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐ . ประศาสนศาสตร์. ๒๕๔๐.
สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพุทธ . ธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. พุทธศาสตรดุษฎี . บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
สุทธิพร สายทอง. การจัดการความรู้เชิงพุทธสู่การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคเหนือ . ตอนบน. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช . วิทยาลัย, ๒๕๔๗.
อนุวัต กระสังข์. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. . พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง . กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
อรพินท์ สพโชคชัย. แนวทางการนาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้สาหรับการบริหารงานส่วน . ท้องถิ่น. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ๒๕๔๓.

(๓) ภาษาอังกฤษ :
Bowditch , James L. and Buono , Anthony F.A Primer on Organizational Behavior. . New York : John wiley and Sons, 1990.
Dessler, G. Human Resource Management. 7thed. Englewood Cliffs.New Jersey : . Prentice-Hall. 2001.
Gilley, Jerry W., and Eggland, Steven A..Principles of Human Resource Developmen. . New York : Addison Wesley, 1990.
Henson. Curriculum Development for Education Reform. New York : Longman. . 1995.
Hineman, Herbert G. and others. Personnel / Human Resource Management. Lllinois : . Richard D lrwin.
Nadler,Leonard and Nadler,Zeace, Corporate Human Resource Development. . New York : Nostrand Rcinhold, 1980.
Oakley. Project with people. Geneva : ILO.1991.
Woolner, Paul. The Purposes and Stages of the Learning Organization Thresholds . in Education, Vol.XVII, NOS.2&3,MAY & August, 1992. Sowell. Curriculum an . Inroduction. New Jersey : Prentice-Hall, Inc. 1996.

(๔) บทความทางวิชาการ :
ระวีภาวิไล. หัวใจของศาสนาพุทธ, บทความเสนอในการประชุมทางวิชาการเรืองหัวใจของศาสนา. . ธรรมสถานมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑๗-๑๘ กรกฎาคม , ๒๕๒๘.

(๕) วารสาร/หนังสือพิมพ์/อินเตอร์เน็ต :
สุรศักดิ์ นานานุกูล. มิติใหม่ของการบริหารงานบุคคล. วารสารบริหารธุรกิจ, ๒๒(๓๐) : ๑๕. ๒๕๓๓.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร. ปีที่ ๖๑ ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม . ๒๕๕๐.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. มัชฌิมาปฏิปทา : สายกลางสองมิติ ในคอลัมน์ธรรมะใต้ธรรมาสน์. หนังสือพิมพ์ . ข่าวสด ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙.
http://saving.egat.co.th/news/member-news/1049/1049-04.pdf เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๑ . ตุลาคม ๒๕๕๗.
http://www.suwannakam.com/OrganizationPotentialDevelopment.asp เข้าถึงข้อมูลวันที่ . ๒๙ กันยายน ๒๕๕๗.
http://www.nice.nu.ac.th เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๗.

(๖) การสัมภาษณ์ :
กัญญารัตน์ ขันสุข. ผู้อำนวยการกองคลัง , วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓
จินตนา พันเดช. ผู้อำนวยการกองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม , วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
เจริญ เปลี่ยวจิตร. นายอำเภอดอนสัก , วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓
ชีวิน ปพนศักดิ์. ปลัดเทศบาลเมืองดอนสัก , วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
ชัชวาล อาจบันดิษ รองปลัดเทศบาลเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
ชุดารัตน์ รอดนิตย์. รก. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองดอนสัก , วันที่ ๒ ตุลาคม . ๒๕๖๓
ประกอบ จันทร์แก้ว. นายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
ประเชิญ พันธุ์อร่าม. รองนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
ปัญญา ไม้ทองงาม. ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม , วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
พ.ต.อ.สุทธิ นิติอัครพงศ์. ผู้กับกับสถานีตำรวจภูธรดอนสัก , วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
พระครูไพโรจน์ธรรมรุจิ. เจ้าคณะอำเภอดอนสัก , วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓
พระครูสุจิตธรรมวัตร. เจ้าคณะตำบลดอนสัก , วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
รติรัตน์ นาวารัตน์. หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
วันเพ็ญ จันทรชิต. ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลเมืองดอนสัก ๑ (วัดท้องอ่าว) , วันที่ ๒ ตุลาคม . ๒๕๖๓
เสน่ห์ ถาวรวงศ์. ผู้อำนวยการกองช่าง , วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓
สรรเสริญ เตี๋ยวบุตร. ประธานสภาเทศบาลเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
สุริยันทร์ แซ่หว่อง. เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๓
สมเกียรติ ศรีคงแก้ว. รองนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก , วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
สมชาย เพชรนุ้ย. ผู้อำนวยการกองการศึกษา , วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
อนัญพร อาจหาญ. หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม , วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๓
อิศรา ฤกษ์รักษ์. กำนันตำบลดอนสัก , วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓