ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องแผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ลักขณา สุกใส
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน วิชาประวัติศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน วิชาประวัติศาสตร์     3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านสระห้วยยางอุปถัมภ์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับการเรียนแบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบผสมผสาน 3) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกัน 5)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานวิชาประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที        (t-test) (Dependent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน วิชาประวัติศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน                                                                                                            2. ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานวิชาประวัติศาสตร์ มีคุณภาพระดับมาก (=4.25, S.D. = 0.80)                                               


  1. 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานวิชาประวัติศาสตร์มีมีคุณภาพระดับมาก

(=4.17, S.D. = 0.75)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ , Rajabhat Chaiyaphum University

Rajabhat Chaiyaphum University

References

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบ ร่วมมือในกลุ่มการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
กมลวรรณ เฉิดฉันท์พิพัฒน์. (2553). การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสาน ที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน วิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ :อรุณการพิมพ์.
_______. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. ชนาธิป พรกุล. (2543). แคทส์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิค การศึกษา.1(2) : 43-49. _______.(2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อ พัฒนาการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล, เสกสรรค์ แย้มพินิจ. (2546). การออกแบบและการผลิตบทเรียน คอมพิวเตอร์การสอนสาหรับ e-Learning.กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. ภคพร สารรักษ์. (2556). “การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องหลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดศรีสุดา ราม.”วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 151-166. ริปอง กัลป์ติวาณิชย์. “ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติ วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม- สิงหาคม) : 642-654. ลักขณา สุกใส และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของหลักสูตร ท้องถิ่นชัยภูมิ “แผ่นดินถิ่นรักษ์”สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยราช ภัฏชัยภูมิ ชัยภูมิ. วัลยา พุ่มต้นวงศ์. (2552). การศึกษาผลการเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิชุดา รัตนเพียร. (2545). การเรียนการสอนผ่านเว็บ:ทางเลือกใหม่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาไทย.ในเอกสาร ประกอบการประชุมโสตเทคโนฯสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุวิทย์ และอรทัย มูลคำ. (2546). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ :เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์. _______.(2545). วิธีจัดการเรียนรู้ .พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. อรพรรณ พรสีมา. (2540). การเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน.กรุงเทพ: โอ.เพส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ภาษาต่างประเทศ
Driscoll, M. (2002).“Blended learning : Let’s get beyond the hype.” E–learning [Online]. Accessd 6 January 2015.Available from : http://en.wilibooks.org/wiki/Blended_Learning_in_ K-12/Definition.