ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการบริหารจัดการด้านวิชาการ ของโรงเรียนวาสนาศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลวังสามหมอ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อารักษ์ โยธะการี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการบริหารจัดการด้านวิชาการของโรงเรียนวาสนาศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลวังสามหมอ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 234 คน  โดยศึกษาตามกรอบแนวคิด 7 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร  ด้านการเรียนการสอน  ด้านการนิเทศและพัฒนาครู  ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร  ด้านนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอน ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการวัดประเมินผล   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  48  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นรายข้อระหว่าง  0.30 ถึง 0.82 และค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  0.88  สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


               ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการบริหารจัดการด้านวิชาการของโรงเรียนวาสนาศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลวังสามหมอ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ  ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านการวัดประเมินผล ด้านการนิเทศและพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน  โดยมีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน  คือ  สถานศึกษาจัดให้ผู้ปกครองพูดคุยกับครูผู้สอนเรื่องหลักสูตร   ในสถานศึกษามีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการผลิตจัดหาพัฒนาการใช้สื่อและนวัตกรรม  สถานศึกษามีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน สถานศึกษามีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการวัดผลประเมินผลอยู่อย่างสม่ำเสมอ สถานศึกษามีรูปแบบ วิธีการนิเทศภายในที่หลากหลาย สถานศึกษามีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน สถานศึกษานำผลการวิจัยมาพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน .(2553). คู่มือข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
กระทรวงศึกษาธิการ .(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุม
กมล ภู่ประเสริฐ ( 2544 ) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ก. พล(1966).
จินตนา นันทปรีชา .(2544 ) การศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย ,มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) . (2558). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
ธิดา สาระยา .(2539).ประวัติศาสตร์ชาติและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
ชาญชัย อาจินสมจาร. (2546) การบริหารการศึกษาเบื้องต้น .กรุงเทพ ฯ: พิมพ์ดี
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ .(2535) การบริหารงานวิชาการ . กรุงเทพ ฯ : สหมิตรออฟเซท.
บุญชม ศรีสะอาด .(2535).การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพมหานคร : สุริยสาส์น
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ .(2546).สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร :จามจุรีโปรดักท์
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. .(2549).หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
พรศรี กันสำอาง. (2551). ความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 2ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
รณกฤต ใบดำรงศักดิ์ .(2551). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2 ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
วศิน ปาลเดชาพงศ์ .(2549). “ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโรงเรียนอนุบาลเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า กรุงเทพมหานคร “ วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชาตรี สุบรรณภาส .(2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนกิ่งอําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2553
พระศิริชัย ปภสฺสโร. .(2553). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สุมาลี ขันติยะ .(2551). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
สุพจน์ สินขุนทด. .(2554). ปัญหาการบริหารจัดการตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสํานักงานการศึกษา. สารนิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
มณีรัตน์ บุญยืน .(2550). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสกลนคร วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
อัมพร ยศหล้า . (2549) . ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.