การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง สังฆคุณกับ ข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA

Main Article Content

วรุณี อารีย์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์
ประภาศิลป์ ญาติเจริญ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา เรื่อง สังฆคุณกับข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยการจัดการเรียนรู้ แบบCIPPA  มีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 2. เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา เรื่อง สังฆคุณกับข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์54 จังหวัดอำนาจเจริญ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 31 คน ได้จากการเลือกแบบ  การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่อง สังฆคุณกับข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA 2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่อง สังฆคุณกับข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ   แบบปรนัยชนิดตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3.แบบวัดและประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ และ 4.แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน


               ผลการวิจัยพบว่า  ผลการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบCIPPA  มีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กอนเรียนมีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำและหลังเรียนอยู่ในระดับปานกลางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชธานี

นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์, สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชธานี

ประภาศิลป์ ญาติเจริญ, สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชธานี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ม.ป.ป. กองวิจัยทางการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชากร. (2541). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ม.ป.ป. กองวิจัยทางการศึกษา.
ทิศนาแขมณี,และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model).กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี แจ่มใส รัตติยา กรวยทอง รุจิรา สร้อยทอง สาวิตรี งามทรัพย์ (2552, เว็บไซด์) การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วย ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาดีวิทยา ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ชาริตา ภาวสิทธิ์ (2553, เว็บไซด์) การเรียนรู้ รายวิชาภาษาต่างประเทศ หน่วย Sufficiency Economy โดยใช้ชุดกิจกรรมในการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ “ฉลาดรู้” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
บุญรอด ชาติยานนท์ (2561) ศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามเพศ และระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร

Weber ( 2006). Learn about the beliefs of students And concerns about teaching mathematics This is a research study on the curriculum of methods on early mathematics in the method of knowledge creation. p. 3273-A
Comb ( 1991). Conducted research to study the effects of reading comprehension and translation of the grade students' articles. 4 In Invercargill School, the objective is to study the reading process of students. And study how well-read students use reading strategies Experiment by having students read to understand the content. From the translation of words or words that do not know the meaning. Or is it a translation of words from one language to another. p. 217-A,